ระบบแพ้คัดออก กับสังคม

Posted by

หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “single-elimination”
เป็นระบบที่เราน่าจะคุ้นเคยกันดีในการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ
ระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ หาคนที่เป็นที่ 1 อย่างง่ายและรวดเร็ว

ใช่ หัวใจของระบบนี้คือ ง่าย และรวดเร็ว !
ซึ่งมันดีมากกับความบันเทิง กับเทศกาลที่มีเวลาจำกัดจำเขี่ย

วันก่อนผมได้ฟัง Podcast ที่มีการสัมภาษณ์คนที่ไปทำงานอยู่ที่ฟินแลนด์
ผู้ถูกสัมภาษณ์เล่าเรื่อง culture shock เรื่องหนึ่งคือ ตอนที่เขาเล่นแบต

ท่านผู้อ่าน อาจจะเคยเล่น แบต หรือตีปิงปอง หรือเล่นการละเล่นอะไรสักอย่างสมัยยังเด็ก
กฏ กติตามักจะออกแบบง่าย ๆ คือ

“คนชนะเล่นต่อ คนแพ้ไปต่อแถว”

ผู้ถูกสัมภาษณ์เล่าให้ฟังว่าพอตัวเองแพ้ ก็กำลังจะเดินออกไปจากสนาม
ครูก็ถามว่า “เธอจะไปไหนหนะ”
ผู้ถูกสัมภาษณ์ก็งงว่า “เอ้าก็แพ้แล้วต้องออก ไม่ใช่เหรอ?”
ครูตอบมาว่า “ถ้าแพ้เธอจะต้องอยู่ต่อ เพื่อฝึกฝนให้ดีขึ้น ส่วนคนที่ชนะเก่งแล้วก็เปลี่ยนคนสิ”

……

ประโยคนี้กระชากสามัญสำนึกผม พร้อมทั้งความคิดทั้งหลายประเดประดังเข้ามา
“นานเท่าไหร่แล้วนะ ที่เราอยู่และเคยชินกับระบบ แพ้คัดออก”

ตอนที่เราเรียนหนังสือ ตอนที่เราสอบเข้ามหาลัย ตอนที่เราสมัครเข้าทำงาน ซ้ำ ๆ
การแพ้หนึ่งครั้ง ไปสร้างโอกาสแพ้ครั้งต่อไปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อแพ้ซ้ำ ๆ มันก็ยิ่งไปถ่างชั้นของความเหลื่อมล้ำ ออกไปเรื่อย ๆ
โดยที่ไม่มีใครสนใจช่วยเหลือ คนแพ้เหล่านั้นเลย
เราเอาแต่โทษว่าคนเหล่านั้น พยายามไม่พอ ขี้เกียจ เกิดมาโง่
ขั้นที่แย่ที่สุดคือบอกว่าพวกเขามี กรรม !!!!

สุดท้ายเราได้ผลลัพธ์ที่มีคนกลุ่มหนึ่งที่ชนะซ้ำ ๆ สะสมความได้เปรียบไปเรื่อย ๆ
กับอีกกลุ่มที่แพ้ซ้ำ ๆ และพยายามเอาตัวรอดในสังคมไปให้ได้วันต่อวัน

แน่นอนว่าระบบ แพ้คัดออกนี้ตอนเอามาใช้กับการตีแบตมันดูสนุกดี
แต่สังคมที่นับวันยิ่งถ่างชั้นไปเรื่อย ๆ คงไม่ใช่เรื่องน่าสนุกเท่าไหร่

อย่าเข้าใจผิด…
ผมไม่ได้ดูถูกว่าความพยายามส่วนตัวไม่มีค่าอะไร
และไม่ได้จะบอกว่าประเทศไทยมันแย่ เพราะจริง ๆ อีกหลาย ๆ ประเทศที่เจริญแล้ว ก็เจอปัญหาเดียวกันกับเรานี่แหละ เพียงแต่ประเทศเหล่านั้นคงพอมีเงินประคับประคองไปได้ แต่แววสังคมล่มสลายก็มาไกล ๆ อยู่เหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น เกาหลี, ญี่ปุ่น

Asian boss ไปสัมภาษณ์เด็กรุ่นใหม่ ๆ ในเกาหลี

ในเกาหลีใต้มีคำว่า Hell Joseon คือ “นรกโซซอน”
เกาหลีก็เป็นประเทศหนึ่งที่ใช้ระบบ แพ้คัดออก อย่างเข้มข้น
จนคนแพ้ ก็แพ้ไปเรื่อย ๆ จนเหลือคนเพียงหยิบมือที่ควบคุมทุกอย่าง
แม้ภาพรวมของประเทศจะดูร่ำรวย ส่งออกเทคโนโลยี วัฒนธรรมต่าง ๆ นา ๆ
แต่คนในประเทศเองกลับมาความภาคภูมิในประเทศลดลงไปเรื่อย ๆ

ในญี่ปุ่นเองก็เช่นกัน คนรุ่นใหม่ไม่นิยมมีลูก ทำให้อัตราการเกิดของประชากรต่ำ
เหตุผลก็เพราะการมีลูกนั้นยิ่งไปถ่างความเหลื่อมล้ำมากขึ้น และมีคนเพียงหยิบมือในประเทศที่ร่ำรวยขึ้นไปเรื่อย ๆ
การชอเชยเงิน 1 – 2 แสนเยนต่อเด็กหนึ่งคนที่เกิด ไม่เพียงพอกับการค้ำยันความเหลื่อมล้ำนี้ไว้

ประเทศไทยก็มีสถาพใกล้เคียงกัน
จะเห็นได้ว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรเราลดลงเรื่อย ๆ
ถ้าเป็นกราฟหุ้นนี่คือขาลงแบบกู่ไม่กลับ เป็น sideway down แบบต้มกบ

อัตราการเกิดลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 1970

ประกอบกับการที่สังคมไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมสูงอายุ และ life span เรายาวขึ้นเรื่อย ๆ
คนร่ำรวย ส่งต่อความร่ำรวย ยืดอายุตัวเองได้ยาวนาน
คนจน คนแพ้ก็ส่งต่อความยากจน ไปเรื่อย ๆ ทำให้ไม่มีใครอยากส่งลูกออกมาลำบากในโลก
ยกเว้นคนที่พอจะมีช่องทางการเลี้ยงดูลูก ๆ ของพวกเขาได้

ทั้งหมดต้นตอเกิดจากการแพ้คัดออก !

แล้วจะต้องทำยังไง?
จากการแพ้คัดออก จะต้องถูกพัฒนาเป็น

“แพ้ก็ฝึกฝน”


แต่ไม่ใช่เป็นการโยนภาระไปว่าบุคคลนั้น ๆ จะต้องฝึกฝนเอง
แต่เป็นการสร้างระบบให้พวกเขาสามารถฝึกฝนได้ ล้มได้ ลองได้

เพราะสังคมคือการดำรงค์อยู่ของคนจำนวนมาก

เป็นไปไม่ได้ที่เราจะพาผู้ชนะหยิบมือเดียวไปข้างหน้า แล้วทิ้งคนส่วนใหญ่ไว้ข้างหลัง

เพราะเราไม่อาจเป็นผู้ชนะทุกคน แต่เราทุกคนจะต้องเดินไปด้วยกัน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s