ไม่ใช่แค่คนไทยที่มี Thai Time

Posted by

ถือเป็นบันทึกในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตที่จู่ ๆ ก็มีคนจำนวนมากมารวมตัวกันใน Fackbook ผ่านกลุ่มที่ชื่อว่า

ย้ายประเทศกันเถอะ

เอาจริง ๆ เรื่องย้ายประเทศก็เป็นเรื่องที่คนรุ่นผมรู้และพยายามทำมากันอย่างต่อเนื่องแล้วนะ เพียงแต่ว่าไม่ได้มีใครพูดกันโจ่งแจ้งเพราะเรากลัวโดนตราหน้าว่าไม่รักชาติ เพื่อนไม่คบ พ่อแม่ขายขี้หน้าอะไรแบบนี้
แต่ก็เป็นที่รู้กันว่า หากใครได้ไปทำงานต่างประเทศที่ก็โก้หรูกันมากมายเลยทีเดียว
ไม่ต้องไปอยู่ 10 – 20ปี ก็ได้ ไปแค่แลกเปลี่ยน ปีสองปี ก็กลับมายืดได้เยอะเลย

แน่นอนว่าเมื่อสังคมเปลี่ยนไป ค่านิยมก็เปลี่ยนตาม
ความเชื่อฝังหัวว่าประเทศไทยนี่เยี่ยมยอดที่สุดในโลกก็ค่อย ๆ จืดจางลง
โลก internet เผยให้เห็นความจริง ว่า โลกมันช่างกว้างใหญ่ยิ่งนัก และมีประเทศอีกหลายสิบประเทศที่มีสภาพความเป็นอยู่ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสาธารณูปโภคพื้นฐาน ดีกว่าเมืองไทยหลายขุม
เราอาจเป็นมหาอำนาจด้านอาหารก็จริง แต่ไม่ใช่กับเรื่องอื่น ๆ

เรื่องย้ายประเทศอาจจะยกมาถกเถียงกันได้ในวันหลัง แต่ที่น่าสนใจคือ
บังเอิญว่ามีการเตือนกันเรื่อง Thai Time ว่าอย่าเอาไปใช้ที่เมืองนอกนะ

แน่นอนว่าผู้อ่านคงรู้จักคำว่า Thai Time กันอยู่แล้ว มันคือคำเรียกรวบ ๆ ถึงพฤติกรรมการมาสายของคนไทย
ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเป็นคนที่ชอบมาสาย บางคนอาจเป็นคนที่เจ็บปวดจากการมาสายของคนอื่น
เรื่องนั้นเราก็จะไม่พูดกัน เพราะแท้จริงแล้ว เราอาจเป็นทั้งคู่ในตัวเราเองก็ได้ ใครจะไปรู้

แต่จากประสบการณ์การทำงานกับคนชาติอื่น ๆ มาบ้าง
ผมพบว่า ไม่ใช่แค่ Thai Time ที่ถูกขนานนาม ในแถบนี้มีชื่อประเทศตามด้วยคำว่า Time แทบจะทุกประเทศ
indonesia, Philipine, Laos, India ล้วนมี “Time” เป็นของตัวเอง

เลยเกิดความสงสัยว่า ประเทศอะไรบ้างที่ตรงต่อเวลา แล้วประเทศอะไรที่ชิว ๆ แบบไทยบ้างละ

เลยไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “The Culture Map” เขียนโดยศาสตราจาร์ย Erin Meyer จาก INSEAD ในฝรั่งเศษ

เขียนมาตั้งแต่ปี 2014 เลยทีเดียว

ซึ่งในหนังสือมีการเปรียบเทียบคนส่วนใหญ่ ในหลากหลายประเทศ ในหลาย ๆ มุมมอง

แต่มีมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจคือเรื่อง เวลา
ในหนังสือใช้คำว่า structured กับ flexible คือพวกหนึ่งจะเป๊ะเรื่องเวลา กับอีกพวกคือยืดหยุ่นมาก
เป็นชาร์ตสวย ๆ ประมาณนี้

ซ้ายมือสุดคือเวลาเป๊ะมาก ๆ ขวามือคือยืดหยุ่นสุด ๆ

ถ้าไปดูในรายละเอียดจะพบว่าประเทศที่ไม่ค่อยตรงต่อเวลาจะได้แก่
ซาอุ, อินเดีย, ไนจีเรีย, เคนย่า, โมรอคโค, บลาซิล, มาเลเซีย, ไทย, ฟิลปปินส์, อินโดนีเซีย
ในขณะที่กลุ่มประเทศที่ตรงต่อเวลามาก ๆ จะได้แก่
เยอรมัน, สวิตเซอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, สวีเดน, เนเทอร์แลนด์, US, UK

สังเกตุเห็นอะไรไหม?
ในเชิงการสังเกตุพื้นฐานจะเห็นว่าประเทศที่ไม่ตรงต่อเวลาเนี้ยะ เป็นพวกเมืองร้อนทั้งนั้นเลย
ในขณะที่พวกตรงต่อเวลาคือพวกเมืองหนาว
หลาย ๆ ครั้งที่คนจะเอาเรื่องสภาพอากาศที่เลวร้ายที่บังคับให้คนทำอะไรต้องยึดติดกับเวลา
ไม่เช่นนั้น จะหมายถึงความตาย มาอธิบายเรื่องพวกนี้ซึ่งผมก็เห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้าง

แต่พอมาดูชาร์ตอันนี้แล้ว เออ… หรือว่ามันจะจริงวะ !!

ทั้งนี้ทั้งนั้น เราอาจผูกโยงเรื่องการตรงต่อเวลา ไปกับระดับการพัฒนาของประเทศก็ได้นะ
เพราะในสมัยที่เศรษฐกิจยังไม่เชื่อมโยงทั้งโลก การ productive การเห็นเวลามีค่าอาจเป็นเรื่องเหลวไหล
แค่ใช้ชีวิตให้รอด ให้มีความสุข นั่นต่างหากถึงเป็นเรื่องที่ดี ที่ถูกต้อง
แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป “เวลา” กลายเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดในโลก
ในวัฒนธรรมที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องเวลา จึงเป็นวัฒนธรรมที่กลายเป็นผู้พ่ายแพ้ในสงครามการ productive นี้ไป

อันนี้เป็นข้อสังเกตส่วนตัว ว่าในไทยเราไม่มี คำสอนเรื่องคุณค่าของเวลาเลย เรามีแต่
“ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม”, “ช้าเป็นการงานเป็นคุณ”
นอกจากนี้เรายังประนามคนที่ทำอะไรเร็ว ๆ ว่าเป็นคนไร้มารยาท ไร้วัฒนธรรมอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นการเดินเร็ว กินเร็ว พูดเร็ว ล้วนแล้วแต่เป็นคนกักขระไร้มารยาท ทั้งสิ้น

สิ่งนี้อาจฝังอยู่ในระดับวัฒนธรรม ในระดับ DNA ของเรามาแต่ครั้งบรรพบุรุษ
เรามองเรื่องเวลาเป็นเรื่องเล็กน้อย ในขณะที่หลายวัฒนธรรมการผิดเวลาอาจหมายถึงเรื่องคอขาดบาดตายทีเดียว

เอาเป็นว่าอย่างน้อยสิ่งที่สามารถสรุปได้คือ ไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้นที่มี Thai Time แต่เรามีเพื่อนร่วมวัฒนธรรมที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาอีกหลายสิบประเทศ
แน่นอนว่า วัฒนธรรมคือสิ่งที่สืบทอดมาจากอดีต
แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอาจจำเป็นเพื่อให้เราสามารถแข่งขันกับคนอื่น ๆ ได้
เราอาจไม่จำเป็นต้องรักษา มรดกบาปนี้ไว้ก็ได้

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s