เมื่อความเป็นมาตรฐานกำลังฆ่ามหาวิทยาลัย

Posted by

ช่วงหลายวันก่อนจู่ๆก็มีคนพูดถึงประเด็นเรื่องมหาวิทยาลัยกำลังเจอกับวิกฤติ…. และต้องมีการเลย์ออฟอาจาร์ยบางส่วน บางมหาวิทยาลัยต้องยื่นขอปิดทำการไป

ซึ่งเท่าที่ไปค้นข้อมูลดูก็มี 2 มหาวิทลัยเท่านั้นที่ยื่นปิดมหาวิทยาลัยไปคือ มหาวิทยาลัยอาเชียน และมหาวิทยาลัยศรีโสภณ แต่นั่นแหละ การที่มหาวิทยาลัยต้องเลิกกิจการไปก็คงไม่ใช่เรื่องที่ธรรมดาเท่าไหร่นัก

แต่ไหนแต่ไรการจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคือเป้าหมายความสำเร็จอันหนึ่งของเด็กไทย และยังเป็นเครื่องหมายในการแสดงถึงการเติบโตเป็นผู้ใหญ่อีกด้วย
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการจบจากมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรีนั้นเป็นหมุดหมายสำคัญอันหนึ่งในชีวิต ซึ่งผู้ที่ชี้เป็นชี้ตายในการจบนั้นก็คือมหาวิทยาลัย ดังนั้นการปิดตัวไปของมหาวิทยาลัยย่อมเป็นเครื่องชี้วัดที่น่าสนใจว่า

“หรือมหาวิทยาลัยจะถึงจุดที่ถูก disruption แล้ว”

แน่นอนว่าเรื่องของอัตราการเกิดที่ลดลง เรื่องของทางเลือกในการศึกษาต่อต่างประเทศที่ง่ายขึ้น รวมไปถึงทางเลือกที่เด็กอาจจะเลือกไม่ต้องจบมหาวิทยาลัยก็สามารถประสบความสำเร็จได้แล้วนั้น

ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าราวๆ 5 – 10 ปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยสร้างหลักสูตรที่ล้าสมัยไม่ทันกับการใช้งาน
ถึงขั้นเพื่อนๆหลายคนที่รับเด็กจบใหม่เข้าทำงานถึงกับพูดว่า

“มันจะจบอะไรมาก็ได้ เพราะสุดท้ายก็ต้องสอนงานกันใหม่อยู่ดี”

แต่เรื่องที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาอย่างยิ่งคือ ระบบมาตรฐาน

มาตรฐานไม่ดีตรงไหน? ในเมื่อธุรกิจใดๆก็ตามก็ล้วนอยากจะมีมาตรฐาน ทำไมมหาวิทยาลัยจะมีไม่ได้?

เรื่องนี้สะกิดใจผมมาตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรี เมื่อมหาวิทยาลัยเกิดอยากจะมีมาตรฐานตามสากล ทำให้มหาวิทยาลัยต้องมีการเปิดปิด ห้องสมุดและห้องแล็บเป็นเวลา (เอาเข้าจริงๆ เรื่องนี้ก็ยังเป็นปริศนาคาใจอยู่ว่าการเปิดปิดเป็นเวลานั้นเกี่ยวข้องกับมาตรฐานจริงหรือไม่ หรือจริงๆแล้วเจ้าหน้าที่ห้องแล็บหรือห้องสมุดอาจจะเข้าใจมาผิดจึงสื่อสารให้นักศึกษาเข้าใจผิดตามไปด้วยก็เป็นได้ แต่ผมได้รับการชี้แจงมาแบบนั้น)

มหาวิทยาลัยควรเป็นที่ที่เปิดกว้างและให้อิสระกับการเรียนรู้ไม่ใช่เหรอ? 

ทุกวันนี้ เรารู้อยู่ว่ามนุษย์เราล้วนแตกต่าง ตั้งแต่วิธีการเรียนรู้ ไปจนถึงความสามารถในการเรียนรู้ด้วย การสร้างมาตรฐานให้กับการศึกษา โดยการกำหนดกรอบของการเรียนให้ต้องเรียนวิชา A, B, C แล้วตัดเกรดโดยอ้างอิงจากมาตรวัดที่กำหนดมาจากส่วนกลางทำให้เราตีกรอบอัจฉริยะภาพของนักศึกษา ที่อยู่ในวัยที่พร้อมทดลองอย่างยิ่ง เราสร้างวิศวกรที่มีความรู้เหมือนๆกัน มีวิธีคิดแบบเดียวกันเพียงวิธีเดียวด้วยกรอบวิชาเดียวกัน มาเพื่อรับใช้ระบบอุตสาหกรรมการผลิตแบบแมส ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าระบบที่ว่านั้นกำลังจะถูกทดแทนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ วิศวกร 1 คนที่ใช้งานระบบอย่างคล่องแคล่วอาจมีผลผลิตมากกว่า วิศวกรจบใหม่ 20 คนด้วยซ้ำ

การเปิดกว้างในผู้เรียนได้ประสานความรู้ต่างๆที่ไม่เคยเกี่ยวข้องเข้าด้วยกันต่างหากที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆขึ้นมา แต่โอกาศนั้นแทบไม่มีวันทำได้เพราะมาตรฐานของการศึกษาที่เราตีกรอบเอาไว้….

วันก่อนผมเห็นโฆษณาตัวหนึ่งของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพออกโครงการที่สามารถให้ผู้เรียนเลือกเรียนวิชาได้เอง แต่พอลองเข้าไปดูรายละเอียดกลับพบว่ามันเป็นเพียงการเลือกวิชาเลือกเท่านั้น วิชาบังคับทั้งหลายยังคงไม่ได้ต่างจาก 10 ปีที่แล้วมากนัก…

จะเป็นไปได้ไหมที่มหาวิทยาลัยสมัยใหม่จะหลุดออกจากกรอบเดิมๆ เช่นการเอาอาจาร์ยผู้ทรงคุณวุฒิมาสอน การทำวิจัยที่เน้นว่าทำยังไงก็ได้ต้องมีงานวิจัยเกิดขึ้นโดยไม่ต้องสนว่าจะทำอะไร จะมีประโยชน์ไหม หรือจะไปแอบมั่วผลมาหรือเปล่า (ขออภัยสำหรับคนที่ศรัทธาระบบงานวิจัยแต่จากประสบการณ์เราพบคนที่ไม่ได้เรียนรู้จากงานวิจัยเลยมากมาย แต่เอาจริงๆก็มีงานวิจัยที่มันดีอยู่เยอะแยะนะที่แย่ๆอาจจะเป็นส่วนนึงเท่านั้น) แต่นั้นแหละการที่ต้องตีกรอบว่าต้องทำ 1-2-3 เท่านั้นจึงจะสำเร็จได้จะจบได้นั้นเป็นการสร้างมาตรฐานที่ขัดกับโลกสมัยใหม่ที่เพียงข้ามคืนสิ่งที่เราเรียนรู้ก็เก่าไปเสียแล้วเหลือเกิน

จะเป็นไปได้ไหมที่มหาวิทยาลัยจะกลายเป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างและสอนให้เด็กๆเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ เรียนรู้ที่จะตื่นเต้นกับความรู้ใหม่ๆ เรียนรู้ที่จะเสนอสร้างสิ่งที่แก้ปัญหาของสังคมโดยที่ไม่ต้องสนใจกรอบเดิมๆ

อย่างที่ William Butler Yeats เคยว่าเอาไว้ว่า

“Education is not the filling of a pail, but the lighting of a fire”
“การศึกษาไม่ใช่การเติมน้ำลงไปในถึงแต่เป็นการจุดไฟ”

เพราะถังนั้นจำกัด แต่เปลวไฟที่ไหม้ลามนั้นสามารถลุกติดไปได้เรื่อยๆตราบใดที่มีเชื้อไฟ

 

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s