จะเกิดอะไรขึ้นถ้าโลกนี้ไม่มีการโกหก

Posted by

การโกหกเป็นความสามารถของมนุษย์ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากการมีจิตนาการ มนุษย์ทุกคนต้องเคยโกหกหลายร้อยครั้งในชีวิต (เป็นอย่างน้อย รวมถึงกรณีที่ไม่ได้พูดออกมาตรงๆหรือไม่บอกความจริงทั้งหมดด้วย)

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าโลกเราไม่สามารถโกหกกันได้มันคงเป็นความประหลาดพิลึกพิลั่นเหมือนกันนะ


Poppy Crum นำเสนอเทคโนโลยีที่น่าสนใจในเวที TED Talk เดือนเมษาปี 2018 
Poppy เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า
จะเกิดอะไรขึ้นหากเทคโนโลยีรู้จักตัวเรามากกว่าที่เรารู้?
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์สามารถแยกแยะอารมณ์เพียงเล็กน้อยที่เราซ่อนเอาไว้ใต้ใบหน้าและสามารถบอกได้ว่าเราทำลังยิ้มจริงๆหรือฝืนยิ้มอยู่
ฟังดูเหมือนน่ากลัว… แต่ไม่ว่ายังไงตอนนี้เรื่องที่ว่ามันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าคุณจะชอบมันหรือไม่ พวกเราล้วนแสดงบางส่วนภายในจิตใจของเราที่เราควบคุมไม่ได้ออกมาตลอดเวลา

ฟังดูไม่ค่อยดีใช่ไหม?

เพราะอะไร? แน่นอนเพราะพวกเราทุกคนล้วนมีความปรารถนาที่จะซ่อนความรู้สึกของเราบางอย่างไม่ให้คนอื่นรู้ พวกเราจึงต้องการ Poker face (ภาษาไทยน่าจะใช้คำว่าหน้าตาย)

Capture

Poker face รากศัพท์มาจากการเล่นไพ่ poker ที่เราจะต้องไม่เปิดเผยให้ผู้เล่นฝั่งตรงข้ามรู้ว่าไพ่ที่เราถืออยู่นั้นดีหรือไม่ดีเพื่อผลลัพธ์ของเกมส์ ฉะนั้นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะไม่ให้ฝั่งตรงข้ามรู้คือการทำหน้านิ่งๆเอาไว้ไม่ให้ฝั่งตรงข้ามรับรู้อารมณ์ของเราได้ 

แต่นั่นคือสิ่งที่กำลังจะกลายเป็นอดีต แม้มันฟังดูค่อนข้างน่ากลัว แต่มันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายก็ได้

poppy ใช่เวลาส่วนใหญ่ไปกับการศึกษาการทำงานของสมองเกี่ยวกับการรับรู้ และเมื่อมันมารวมกับเทคโนโลยีปัจจุบัน ทำให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถเชื่อมโยงกันได้ยิ่งขึ้น เพราะเธอเชื่อว่ามันน่าจะดีกว่าที่เราไม่ต้องสวมหน้ากากเข้าหากัน

เธอเริ่มต้นยกตัวอย่างของสัตว์ที่มีการตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวแล้วแสดงออกมาทางร่างกาย ซึ่งระบบพวกนี้ถูกวิวัฒนการขึ้นมาเหมือนกับ การกิน การหาคู่ และการเอาตัวรอดอื่นๆ หลังจากนั้นเธอก็โชว์การทดลองที่ทำกับแมงมุมให้ดู (แนะนำให้ดูช่วงเวลา 2:15 – 2:35)

เป็นการทดลองง่ายที่ทำเสียงต่ำ เสียงกลาง และเสียงสูงใส่แมงมุม เมื่อแมงมุมได้ยินเสียงสูงมันจะยกขาหน้าขึ้นมาทุกครั้ง ในขณะที่เสียงโทนอื่นไม่ได้ตอบสนองอะไร

ซึ่งเธออธิบายว่าเสียงสูงของเธอนั้นไปพ้องกับเสียง echolocation ของค้างคาวหรือนกซึ่งเป็นผู้ล่าของแมงมุมทำให้มันตอบสนองอย่างที่เห็น เธออธิบายต่อว่าแมงมุมนั้นตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวออกมาทางร่างกายเหมือนกับที่มันคิด (คือรู้สึกยังไงก็ตอบสนองออกมาทางร่างกายอย่างนั้น)

Capture

แต่มนุษย์นั้นแตกต่างเราคิดว่าเราสามารถควบคุมความรู้สึกภายในของเราไม่ให้แสดงออกมาได้ คิดว่าเราทุกคนมี Poker face แต่จริงๆแล้วอาจไม่ใช่

ดวงตาของเรานั้นตอบสนองตามการทำงานของสมอง คือถ้าสมองเราทำงานหนักเลนส์ตาจะมีการตอบสนองที่แตกต่างไปจากปกติด้วยโดยไม่เกี่ยวกับแสงสว่าง (การทดลองใน lab มีการควบคุมแสงของตัวอย่างทดลอง) โดยการทดลองเป็นการจับภาพความกว้างของตาดำ พร้อมทั้งเปิดเสียงพูดให้ผู้ทดลองฟัง โดยมีเสียงสองแบบคือ 1.สองเสียงที่พูดซ้อนๆแบบไม่พร้อมกัน กับ 2. เสียงเดียวธรรมดา ทั้งสองแบบพูดประโยคเดียวกัน แต่ตาดำของผู้ทดสอบไม่เหมือนกัน คือเมื่อเสียงมีความสับสนตาดำจะเปิดกว้าง ในขณะที่ถ้าเป็นเสียงเดียวตาดำจะแคบลง

แนะนำให้ลองไปดูการทดลองในวีดีโอ นาที่ที่ 04:10 – 04:20 

ตาดำของเราไม่สามารถโกหกได้ เมื่อสมองของเราทำงานหนัก (เนื่องจากมีสองเสียงตีกัน) ระบบประสาทอัตโนมัติจะทำให้ตาดำขยาย ฉะนั้นการที่เราคิดว่าเราสามารถซ่อนความรู้สึกภายในเอาไว้ได้ดีกว่าแมงมุมนั้นอาจจะไม่จริง

ทุกวันนี้เทคโนโลยีนั้นดีขึ้นจนกลายเป็นเรื่องง่ายที่จะมองเห็นสัญญาญเหล่านี้ เมื่อทำงานร่วมกับเซนเซอร์อีกหลายๆตัวและเทคโนโลยี machine learning ซึ่งเซนเซอร์ที่ว่าไม่ใช่แค่กล้องและไมค์โครโฟนเท่านั้น

แม้แต่รังสีความร้อนที่แผ่ออกมาจากตัวเราก็บอกเรื่องราวของเรา

Capture

ภาพข้างบนคือภาพการแผ่รังสีอินฟาเรต โดยสีแดงคือร้อนสีฟ้าคือเย็นกว่าซึ่งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมินี้บอกเราถึงความเครียดและบอกว่าสมองของเราทำงานหนักแค่ไหน บอกได้แม้กระทั่งการตั้งใจหรือมีส่วนร่วมในการสนทนาหรือเปล่า หรือแม้แต่การให้มองภาพไฟที่เหมือนจริงเราจะเห็นคนส่งความร้อนออกมาจากแก้มเพื่อตอบสนองต่อภาพเปลวไฟ

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่การจับโกหก ในอีกมุมนึงภาพการตรวจจับความรู้สึกจากภาพความร้อนอาจเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบการตกหลุมรัก หรือการให้ความสนใจในอะไร
ด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถทำให้เราทำนายเรื่องของสภาพจิตใจ สุขภาพด้วยการจับจังหวะการพูดและภาษาที่ใช้ จากกลุ่มการทดลองแสดงผลว่าถ้าเอาสถิติของการใช้ภาษามาเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี machine learning เราสามารถพยากรณ์โอกาสของการเป็นโรคจิตได้

นอกจากนี้เธอยังศึกษาไปไกลถึงการใช้ภาษาและเสียงที่เปลี่ยนไปในสภานการณ์ที่แตกต่างกัน
หรืออย่างโรคเบาหวานที่ทำให้สเปคตัมของคลื่นเสียงเราเปลี่ยนไป หรือการเปลี่ยนแปลงของการใช้ภาษาอาจไปเกี่ยวพันกับการเป็นโรคอัลไซเมอร์ซึ่งบางครั้งสามารถเห็นแนวโน้มล่วงหน้าเป็น 10 ปีก่อนที่การตรวจแบบปกติจะพบเจอได้ สิ่งที่เราพูดและวิธีที่เราพูดอาจแสดงอะไรได้มากกว่าที่เราคิดก็ได้ และทั้งหมดนี้สามารถทำได้ด้วยอุปรณ์ที่เรามีอยู่แล้วในบ้าน

นอกจากนี้แล้วสารเคมีที่เราหายใจออกมาก็บอกถึงอารมณ์ความรู้สึกของเราได้ ซึ่งพวกนี้ประกอบไปด้วย Acetone, Isoprene และคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อหัวใจเราเต้นแรง หรือเมื่อกล้ามเนื้อเราเกร็งตัวโดยที่ไม่แสดงออกมาทางพฤติกรรมของเราเลย

หลังจากนั้นเธอก็ขอให้ทุกคนดู VDO ตอนหนึ่งโดยให้โฟกัสไปที่ผู้ชายและหน้าต่าง
(อันนี้ควรดูเป็นวีดีโอนาทีที่ 7:30 – 7:50)

จริงๆนี่เป็นการทดลองของเธอเช่นกัน โดยวีดีโอที่เธอให้ดูมีฉากและเสียงที่ทำให้คนดูต้องแอบตกใจนิดหน่อย โดยเธอได้ทำการวัดค่า คาร์บอนไดออกไซด์ในห้องเอาไว้ที่พื้นเพราะคาร์บอนไดออกไซด์หนักกว่าอากาศแล้วเอาไปวิเคราะห์ทันทีด้วยความแม่นยำสูง จริงๆในวีดีโอที่ให้ผู้ชมดูด้านซ้ายมือจะมีกราฟสีแดงๆอยู่เป็นกราฟแสดงถึงปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เรียลไทม์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีหลายคนที่สะดุ้งตกใจ

คราวนี้เธอให้ดูวีดีโอเดิมอีกครั้งแต่เปลี่ยนเสียงเป็นเสียงที่ผ่อนคลาย เปลี่ยนเสียงกรีดร้องของผู้หญิงในวีดีโอเป็นเสียงหัวเราะ ( วีดีโออยู่นาทีที่ 8:46 – 9:05 )

คราวนี้ผู้ชมรู้แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นและการเปลี่ยนเสียงประกอบให้น่ากลัวน้อยลง ทำให้กราฟของคาร์บอนไดออกไซด์ในห้องไม่เหมือนเดิมซึ่งแสดงให้เห็นว่า แค่มองเข้าไปในลมหายใจของเราก็สามารถรู้ได้ว่าเรากำลัง จดจ่อ กลัว หรือมีความสุขอยู่ เรากระจายอารมณ์เหล่านี้ออกไปตลอดเวลาผ่านทางสารเคมีที่เราปล่อยออกมา

ด้วยเทคโนโลยีที่ว่ามานี้เรารู้ว่าเรารู้สึกอะไรอยู่ เรารู้ไปมากกว่าที่เราเคยรู้ เราสามารถเข้าถึงประสบการณ์ของผู้คน อารมณ์ของผู้คนซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานของมนุษย์และนี่คือยุคของความเข้าใจกัน เธอว่าอย่างนั้น
ซึ่งการเข้าถึงความรู้สึกนี้จะทำให้เราสามารถหาวิธีในการเล่าเรื่องราวของเรา สามารถเอาไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยี AR(Augmented reality) เพื่อทำให้เข้าถึงอารมณ์ได้ลึกยิ่งกว่าเดิม

Augmented reality หรือ AR คือเทคโนโลยีการนำข้อมูลไปซ้อนกับโลกจริงมันคือการเอาโลกของข้อมูลไปซ้อนกับโลกของความเป็นจริงเช่น เกมส์โปรเกม่อนโกที่ต้องไปตามพื้นที่โลกจริงแล้วจับโปเกม่อนเอา ไม่ใช่ VR ที่สร้างโลกเสมือนชึ้นมาเลย 

เธอยกตัวอย่างเช่นครูที่ปรึกษาที่สามารถรู้ได้ว่านักเรียนที่ภายนอกดูร่าเริงนั้นจริงๆอาจจะกำลังย่ำแย่อยู่และสามารถทำให้สถาณการณ์ดีขึ้นได้ หรือเจ้าหน้าที่ที่สามารถรู้ว่าบางคนมีปัญหาทางจิตหรือมีการคุกคามอยู่ แล้วสามารถตอบสนองได้ถูกต้อง หรือศิลปินที่สามารถรู้ได้ว่างานของพวกเขากระทบอารมณ์ของคนยังไง

แน่นอนว่าผู้คนคงไม่สบายใจนักที่จะต้องเอาสิ่งที่ตนอยากปิดบังแสดงออกมานี่คงเป็นดาบสองคมที่น่ากลัว ในมุมหนึ่งเราสามารถใส่ใจผู้คนได้มากขึ้นสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้ผู้คนได้ดีขึ้น แต่ก็แลกมากับการที่เราถูกเปิดเผยตัวตนเช่นกัน ….

สุดท้ายวิเคราะห์ตัวผู้พูดซักหน่อย puppy ดูลังเล ไม่แน่ใจ และไม่สบายใจในการพูดหลายๆเรื่อง ทำให้การพูดดูตึงเครียดแม้บางอย่างที่เอามาแสดงอยากให้เป็นมุกที่ลดความตึงเครียดแต่เมื่อผู้พูดยังตึงเครียดอยู่มุกนั้นไม่มีทางสำเร็จได้

ปล. ส่วนตัวคิดว่าจริงๆเราทุกคนมีความสามารถนี้อยู่ในตัวอยู่แล้วนะ เราสามารถเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นได้เพียงแค่เราแคร์คนนั้นมากพอเท่านั้นเอง

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s