นิสัยของเหล่านักคิดตัวจริง

Posted by

Adam Grant ผู้เขียนหนังสือ Originals: How Non-Conformists Move the World
ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือที่ผมชอบเล่มหนึ่ง ที่เล่าถึงคนที่เป็น “Originals” ซึ่ง “Originals” ที่ว่านี่คือคนที่มีไอเดียที่แปลกใหม่และสร้างสิ่งใหม่ๆให้กับโลก

ใน TED Talk อันนี้ เขามาเล่าเกี่ยวกับ 3 พฤติกรรมที่น่าสนใจของคนที่เป็น Originals


 

ข้างล่างเป็นเรื่องจาก TED Talk


เมื่อ 7 ปีที่แล้วนักเรียนคนหนึ่งได้เข้ามาหาผมแล้วขอให้ช่วยลงทุนในบริษัทของเขา โดยเขาบอกว่า “บริษัทนี้ทำกับเพื่อนอีก 3 คนและเรากำลังพยายามปฏิวัติอุตสาหกรรมด้วยการขายของออนไลน์!”

เมื่อได้ยินดีงนั้น Grant จึงตอบสวนไปว่า “ดีเลย งั้นแสดงว่าพวกคุณน่าจะพยายามทำสิ่งนี้ตลอดช่วงซัมเมอร์ใช่ไหม?”

“เปล่า พวกเราจะไปฝึกงานเผื่อว่างานนี้จะไปไม่รอด” นักศึกษาตอบ

“งั้นก็หมายความว่าถ้าพวกเธอเรียนจบจะมาทำงานนี้เต็มเวลาใช่ไหม?” Grant ถามต่อ

“อืม… ก็ไม่แน่นะ แต่พวกเราก็เตรียมงานสำรองเอาไว้แล้วละ”

…..

6 เดือนผ่านไป 1 วันก่อนตั้งบริษัทพวกเขายังไม่มี website ที่ใช้งานได้เลย

“เฮ้ พวกคุณรู้ใช่ไหมว่าบริษัทของคุณขายของออนไลน์ดังนั้นบริษัทคุณคือ website”

แน่นอน Grant จึงปฏิเสธที่จะลงทุนในบริษัทนั้น

และบริษัทที่ว่านั่นคือ Warby Parker

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ warby parker
(Warby Parker คือบริษัทขายแว่นตาออนไลน์มูลค่าหมื่นล้านด้วยเวลาเติบโตเพียง 5 ปีเท่านั้น โดยเหล่าผู้ก่อตั้งไปค้นพบความจริงอันน่าตกใจที่ว่าแบรนด์ของแว่นตาที่อยู่ในตลาด ไม่ว่าจะเป็น Ray-ban, Oakley, Prada และอื่นๆอีกกว่า 41 แบรนด์ล้วนอยู่ภายใต้บริษัท Luxottica เท่ากับว่า Luxottica บริษัทเดียวคุมตลาดแว่นตาในสหรัฐอเมริกากว่า 90% เลยทีเดียว และแว่นตาหนึ่งอันราคาแพงถึงราว 200 – 500 USD กรณีนี้คงคล้ายๆกับในบ้านเราที่ห้างแว่นที่มีสาขาเยอะที่สุด 2 เจ้าคือ แว่นท็อปเจริญและห้างแว่นบิวตี้ฟูลมีเจ้าของเดียวกัน ร่วมกันผูกขาดตลาด Warby Parker  แก้ปัญหาจุกจิกเรื่องการวีดสายตาด้วยเทคโนโลยีและส่งแว่นไปให้ลูกค้าลองที่บ้านถึง 5 แบบและตั้งราคาถูกกว่าในท้องตลาดเกินครึ่งคือเริ่มต้นที่ 95 USD ทำให้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกทันที)

ที่เล่ามายาวๆก็เพื่อจะบอกว่านี่คือบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก !

Garnt มองหาคำตอบว่าทำไมเขาจึงตัดสินใจผิดพลาด?

เพื่อหาคำตอบ Grant ไปศึกษาผู้คนที่เขาเรียกว่า Original (ซึ่งจากนี้ไปผมจะใช้คำว่า “ตัวจริง”)
ตัวจริงที่ว่านี้เป็นพวกสวนกระแส เป็นบุคคลที่ไม่เพียงแต่มีไอเดียใหม่ๆแต่ยังทำมันจนสำเร็จอีกด้วย
พวกเขาคือคนที่โดดเด่นและกล้าพูด ตัวจริงเหล่านี้นำความคิดสร้างสรรค์ไปขับเคลื่อนโลก
และพวกเขาดูไม่เหมือนที่ Grant คาดไว้ ….

ซึ่ง Grant ได้แสดง 3 อย่างที่เขาได้เรียนรู้จากการศึกษาตัวจริงเหล่านี้

Capture

อย่างแรกที่ได้เรียนรู้จาก Warby Parket คือพวกเขาเริ่มต้นช้ามากๆ ซึ่งทุกคนน่าจะคุ้นเคยดีมันคือ
การผลัดวันประกันพรุ่ง
ซึ่ง Grant บอกว่าเขาเป็นคนฝั่งตรงข้ามกับการผลัดวันประกันพรุ่ง
หลังจากนั้น Grant ก็เล่าเรื่องความจริงจังของชีวิตของตัวเองสมัยเด็กที่ตื่นแต่เช้ามาเล่นเกมส์จนกระทั่งเชียวชาญสุดๆจนกระทั่งหนังสือพิมพ์มาทำข่าวเรื่อง “ด้านมืดของ Nintendo”

Capture
ข่าว Grant สมัยเด็กๆ

ซึ่งแน่นอนว่าการเป็นคนที่ไม่ผลัดวันประกันพรุ่งเลยทำให้เขาเรียนได้ดีในมหาวิทยาลัยโดยทำ Thesis เสร็จ 4 เดือนก่อนกำหนดส่งซึ่งเป็นเรื่องที่เขาภาคภูมิใจมาก จนกระทั่งไม่กี่ปีก่อน
มีนักศึกษาชื่อว่า Jihae มาเล่าให้ฟังว่า “เธอจะมีความคิดสร้างสรรค์มากตอนที่กำลังผลัดวันประกันพรุ่งอยู่” และด้วยความเป็นเราเป็นสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยานี่เป็นไอเดียที่ดีที่จะลองทดสอบดู

โดยในการทดสอบเข้าให้ Jihae ไปเก็บข้อมูลในหลายๆบริษัทโดยให้พนักงานในบริษัททำแบบสอบถามเรื่องการผลัดวันประกันพรุ่งของตนเอง หลังจากนั้นก็ไปให้หัวหน้าของพนักงานผู้ทำแบบสอบถามประเมินเรื่องความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมของพนักงาน
และแน่นอนว่าคนที่ไม่ค่อยผลัดวันประกันพรุ่งนั้นถูกประเมินว่ามีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมน้อยกว่าคนที่ผลัดวันประกันพรุ่งแบบกลางๆ

Grant เลยถามต่อว่าแล้วกับคนที่ผลัดวันประกันพรุ่งมากๆละ?
“ไม่รู้สิ พวกเขาไม่ได้ตอบแบบสอบถามมา” Jihae ตอบ
ข้างบนคือมุก

Capture

จริงๆแล้วเขาได้ผลลัพธ์ออกมาว่าสำหรับคนที่ผลัดวันประกันพรุ่งแบบสุดๆไปเลยก็จะไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์มากเป็นพิเศษคือเท่าๆกับคนที่ไม่ผลัดวันประกันพรุ่งเลย จุดเดียวที่จะมีความคิดสร้างสรรค์สุด ๆ คือคนที่ผลัดวันประกันพรุ่งแบบกลางๆเท่านั้น
ทำไมละ?
หรือว่าบางทีตัวจริงเหล่านี้อาจจะแค่มีนิสัยการทำงานที่ไม่ดี บางทีการผลัดวันประกันพรุ่งอาจจะไม่ได้เป็นสาเหตุของความคิดสร้างสรรค์ก็ได้

เพื่อหาคำตอบนี้เขาเลยออกแบบการทดลองใหม่ โดยขอให้อาสาสมัครคิดไอเดียธุรกิจใหม่ๆ แล้วให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้คิดไอเดียธุรกิจลองอ่านไอเดียเหล่านี้แล้วประเมินว่ามีความคิดสร้างสรรค์และเอาไปใช้ได้จริงแค่ไหน โดยแบ่งเป็นสามกลุ่มแบบสุ่ม บางคนจะถูกสั่งให้สร้างไอเดียธุรกิจทันที บางกลุ่มถูกทำให้ผลัดวันประกันพรุ่งโดยสั่งให้เล่นเกมส์ Minesweeper ก่อน 5 นาที และอีกกลุ่มให้เล่น 10 นาที ซึ่งแน่นอนผลลัพธ์ที่ได้คือ กลุ่มที่ถ่วงเวลาไป 5 นาทีมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่า

Capture

สาเหตุน่าจะเป็นเพราะเมื่อบอกว่าให้สร้างแผนธุรกิจแล้วให้ผลัดวันประกันพรุ่งด้วยการเล่นเกมส์
งานที่เราถูกสั่งให้ทำ (คิดแผนธุรกิจ) นั้นทำงานอยู่เบื้องหลังภายในจิตใจ นั่นทำให้ความคิดเริ่มเพาะบ่มแล้ว การผลัดวันประกันพรุ่งทำให้เรามีเวลาที่จะคิดถึงแนวคิดที่หลากหลายเพื่อคิดในแบบที่แตกต่างและได้ผลลัพธ์ที่ไกลกว่าที่คาดหวัง

หลังจากจบการทดลองนี้ Grant ก็เริ่มเขียนหนังสือ originals และคิดว่า
“ นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะฝึกตัวเองให้เป็นคนผลัดวันประกันพรุ่ง ในขณะที่เขียนบทที่ว่าด้วยการผลัดวันประกันพรุ่ง” ดังนั้น Grant จึงทำตัวผลัดวันประกันพรุ่งด้วยการตื่นมาตั้งแต่เช้าและเริ่มเขียนรายการสิ่งที่ต้องทำว่าจะทำตัวผลัดวันประกันพรุ่งยังไงดี” ^^ (อันนี้จริงๆไม่ควรแปลเลยแต่ชอบมุกนี้มากๆเลยแปลเอาไว้ด้วย ฮ่าๆ)

หลังจากนั้น Garnt พยายามอย่างยิ่งที่จะทำตามเป้าหมายด้วยพยายามไปไม่ถึงเป้าหมาย(ผลัดวันประกันพรุ่ง) โดยการเขียนบทเรื่องการผลัดวันประกันพรุ่งเอาไว้ครึ่งทางแล้วทิ้งไปอีกครึ่งเดือน สำหรับ Grant เป็นความทุกข์ทรมานมาก แต่หลังจากที่ทิ้งไว้เมื่อกลับมาเขียนปรากฏว่าเขามาไอเดียใหม่ๆมากมาย

ดังที่ Aaron Sorkin (นักเขียนบทภาพยนต์ชื่อดัง) ว่าไว้ว่า
“คุณเรียกมันว่าผัดวันประกันพรุ่งแต่ผมเรียกว่ากำลังคิดอยู่”

นอกจากนี้ Grant ยังพบว่าตัวจริงทั้งหลายในประวัติศาสตร์นั้นล้วนเป็นนักผลัดวันประกันพรุ่งทั้งสิ้น

อย่างเช่น Da vinci ที่เขียนภาพ โมนาลิซ่าเขาทำๆเลิกๆอยู่ถึง 16 ปี เขารู้สึกล้มเหลวตลอดเวลาที่ทำแต่ด้วยการทำๆเลิกๆทำให้เขาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงสีและทำให้ดาวินชี่กลายเป็นนักวาดภาพที่เก่งขึ้นไปด้วย

หรืออย่าง Martin Luther King Jr. (ผู้นำการประท้วงเรียกร้องสิทธิเท่าเทียมระหว่างคนขายและคนผิวสี) คืนก่อนกล่าวสุนทรพจน์ที่ต่อมากลายเป็นประวัติศาสตร์ (I have a dream) เขาลุกขึ้นมาเขียนสุนทรพจน์ใหม่ตอนตี 3 ก่อนขึ้นเวทีปราศัยเข้านั่งอยู่กับคนฟังและยังคงร่างๆและขีดฆ่าสุนทรพจน์อยู่ เมื่อขึ้นเวทีเขาได้ทิ้ง 4 คำที่ทุกคนจดจำไปตลอดและเปลี่ยนประวัติศาสตร์ไปตลอดกาล

“I have a dream” ซึ่ง 4 คำนี้ก็ไม่ได้มีอยู่ในแบบร่างที่เขาใช้ด้วย ด้วยการที่เขาเลื่อนเวลาของการสรุปบทสุนทรพจน์ออกไปจนกระทั่งนาทีสุดท้าย ทำให้เขาเปิดกว้างต่อทุกไอเดียที่เป็นไปได้และด้วยการที่เขาไม่ได้กำหนดคำไว้ทำให้เรามีอิสระที่จะด้นสดได้

การผลัดวันประกันพรุ่งอาจเป็นสิ่งเลวร้ายต่อการทำงานแต่มันเป็นสิ่งที่ดีต่อความคิดสร้างสรรค์
สิ่งที่เราเห็นได้จากตัวจริงเหล่านี้คือคนเหล่านี้ล้วนเริ่มต้นทำอะไรอย่างรวดเร็วแต่จบมันอย่างช้าๆ
และนี่คือสิ่งที่ Garnt พลาดไปกับ Warby Parker ตอนนี้พวกเขาทำงานอย่างเฉื่อยชาอยู่ 6 เดือน
Garnt บอกกับพวกเขาว่า “รู้ไหมมีหลายบริษัทที่ขายแว่นทางอินเตอร์เน็ตแล้วนะ”
คุณพลาดโอกาสจะเป็นคนแรกที่ทำแล้ว แต่สิ่งที่ Grant ไม่ได้ตระหนักคือพวกเขาใช้เวลาในการพยายามหาว่าจะทำยังไงให้คนสั่งได้ง่ายๆ และยินดีสั่งแว่นทางออนไลน์
กลายเป็นว่าข้อได้เปรียบของเป็นคนแรกที่ทำธุรกิจเป็นเพียงมายา

ลองพิจารณาการศึกษาที่คลาสสิคของสินค้า 50 ประเภท โดยเปรียบเทียบคนที่เข้ามาทำธุรกิจเป็นเจ้าแรก(first mover) เทียบกับบริษัทที่เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้น (improver) จะพบว่าเจ้าแรกที่มาทำธุรกิจนั้นมีอัตราการล้มเหลวอยู่ถึง 47% ในขณะที่พวกที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 8% เท่านั้น

Capture

อย่าง Facebook ไงที่กว่าจะคลอดออกมาได้ก็มี social media อื่นๆอย่าง Myspace หรือ Friendster อยู่แล้ว
หรืออย่าง Google ที่รออีกเป็นปี หลังจาก AltaVista และ Yahoo ทำ search engine ซึ่งจริงๆแล้วมันอาจง่ายกว่าที่จะต่อยอดพัฒนาความคิดของคนอื่นแทนที่จะคิดใหม่ทั้งหมด ดังนั้นสิ่งที่ Grant เรียนรู้คือ

การจะเป็นตัวจริงไม่จำเป็นต้องทำเป็นคนแรกแต่ต้องทำให้แตกต่างและดีขึ้น

แต่นั่นก็ไม่ได้แค่สิ่งเดียวที่ได้เรียนรู้จาก Warby Parker พวกเขามีแต่ความไม่มั่นใจ พวกเขาหางานสำรองเอาไว้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ทำให้ Grant เคลือบแคลงใจในหนทางของการเป็นตัวจริงมาก เพราะเขาคาดหวังว่าตัวจริงเหล่านี้น่าจะต้องเต็มไปด้วยความมั่นใจ

Capture

ซึ่งจริงๆในฉากหน้าตัวจริงเหล่านี้จะดูเหมือนเต็มไปด้วยความมั่นใจ แต่เบื้องหลังพวกเขาล้วนมีความกลัว ความไม่มั่นใจเหมือนกับพวกเรา แต่พวกเขาแค่จัดการกับมันด้วยวิธีที่แตกต่าง

นี่คือภาพที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานของความคิดสร้างสรรค์ของพวกเราส่วนใหญ่

Capture

ซึ่งจากงานวิจัย Grant พบว่ามีความไม่มั่นใจอยู่ 2 ประเภทคือ ความไม่แน่ใจในแนวคิด และความไม่แน่ใจในตัวเอง

การไม่แน่ใจในตัวเองทำให้เราหยุดทำเรื่องต่างๆ แต่ความไม่มั่นใจในแนวคิดนั้นทรงพลัง มันจะขับเคลื่อนให้เราต้องไปทดลอง ไปปรับปรุงมัน เหมือนที่ martin luther king ทำ
ดังนั้นหัวใจของการเป็นตัวจริงมันคือเรื่องง่ายๆที่เราต้องกระโดดจาก step 3 ไปยัง step 4 คือแทนที่จะโทษตัวเองว่าเรามันห่วยวะ ให้บอกตัวเองว่า “ช่วงแรกๆมันก็ห่วยแบบนี้ทั้งนั้นแหละ แค่มันยังไปไม่ถึงจุดที่มันดี”

แล้วเราจะถึงจุดนั้นได้ยังไง? กลายเป็นว่าการดูจาก Internet Browser ที่ใช้อาจจะบอกได้ว่างานของเรานั้นจะมีประสิทธิภาพอย่างไร

มีหลักฐานจาการศึกษาว่าคนที่ใช้ Firefox หรือ Chrome นั้นมีผลการทำงานที่ดีกว่าคนที่ใช้ Internet Explorer หรือ Safari

นอกจากนี้คนเหล่านี้ยังทำงานอยู่ที่เดิมนานกว่าอีกกลุ่มถึง 15% ทำไมละ? แน่นอนว่าไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีเลย คนที่ทำงานด้วย Browser ทั้ง 4 นี้ล้วนพิมพ์ด้วยความเร็วใกล้เคียงกัน มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์พอๆกัน

สิ่งที่ต่างคือการได้มาซึ่ง Browser ต่างหากเพราะ Internet Explorer และ Safari นั้นเป็น Browser ที่ติดมาอยู่กับเครื่องและเรายอมรับเงื่อนไขที่มีมาให้อยู่แล้ว แต่ถ้าเราจะใช้ Chrome หรือ Firefox เราอาจจะต้องใส่ความพยายามเข้าไปเพื่อที่จะดาวน์โหลด Browser ใหม่

บางคนได้ยินตรงนี้แล้วอาจจะบอกว่า “เยี่ยมเลย เดี๋ยวรีบไปโหลด Browser จะได้ทำงานได้ดีขึ้น!”

แน่นอนว่ามันไม่ได้ทำงานแบบนั้น !! มันเกี่ยวกับว่าคุณเป็นคนแบบไหน? เป็นคนที่ริเริ่มที่จะแหกกฏจากค่าตั้งต้นที่มีให้เพื่อตัวเลือกอื่นๆที่ดีกว่าหรือเปล่า? ถ้าคุณทำแบบนั้นแสดงว่าคุณทำให้ตัวเองอยู่ตรงข้ามกับอาการ เดจาวู (อาการที่เรารู้สึกเหมือนว่าเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนแล้วที่ไหนซักแห่งจำไม่ได้ แล้วเกิดขึ้นซ้ำๆ) Grant เรียกคนฝั่งตรงข้ามนี้ว่า วูจาเด

วูจาเดคือการที่เราเห็นอะไรที่เคยเห็นซ้ำ ๆ มาแล้วหลายครั้งด้วยมุมมองใหม่ๆ มันคือ
คนเขียนบทที่เห็นบทหนังที่ไม่ผ่านการรับเลือกมาครึ่งศัตวรรษ ในทุกๆเวอร์ชันตัวละครหลักเป็นราชินีผู้ชั่วร้าย แต่ Janifer Lee ตั้งคำถามกับมันแล้วเขียนองค์แรกมาใหม่โดยเปลี่ยนตัวร้ายให้กลายเป็นผู้กล้าที่ถูกทรมาน แล้ว Frozen ก็กลายเป็นภาพยนต์แอนนิเมชั่นที่ประสบความสำเร็จที่สุดตลอดลเรื่องหนึ่ง
สิ่งที่เราได้จากเรื่องนี้คือ เมื่อเรารู้สึกเคลือบแคลงไม่แน่ใจอย่าปล่อยให้มันผ่านไป

แล้วความกลัวละ? ตัวจริงเหล่านี้ล้วนรู้สึกกลัวเช่นกัน พวกเขากลัวที่จะล้มเหลวแต่อะไรที่ทำให้คนเหล่านี้ต่างจากพวกเรา
มันคือพวกเขากลัวที่จะไม่ได้ลอง พวกนี้รู้ว่าจะล้มเหลวเพราะทำธุรกิจแล้วเจ้ง หรือล้มเหลวเพราะไม่ได้เริ่มเลยล้วนล้มเหลวเหมือนกัน พวกเขารู้ว่าในระยะยาวสิ่งที่เสียใจที่สุดคือการไม่ได้เกิดการการกระทำของเราแต่เกิดจากการไม่ทำต่างหาก
สิ่งที่เราอยากย้อนกลับไปแก้ไขมากที่สุดคือโอกาสที่เราไม่ได้คว้ามันมา

Elon Musk เคยบอกกัย Grant ก่อนหน้านี้ว่า Elon เองไม่เคยคิดว่าบริษัท Tesla จะประสบความสำเร็จเพราะช่วงแรกที่ SpaceX มันล้มเหลวที่จะเข้าสู่วงโคจรแล้วกลับมาหลายครั้ง แต่แนวคิดของ Elon นั้นสำคัญเกินกว่าที่จะไม่ลองทำมัน
และสำหรับพวเราทุกคนถ้าเรามีไอเดียดีๆ อย่ารีรอที่จะลอง

Grant เล่าว่าเรามักจะคิดว่าเราจะถูกตัดสินจากไอเดียห่วยๆที่เรามี แต่ถ้าลองมองเข้าไปในอุตสาหกรรมต่างๆล้วถามถึงไอเดียที่ยิ่งใหญ่ที่พวกเขามี 85% จะไม่ยอมบอกออกมาเพราะพวกเขากลัวว่าจะทำให้ตัวเองอับอาย หรือดูโง่ แต่รู้ไหมว่าตัวจริงทั้งหลายนั้นล้วนมีไอเดียแย่ๆมากมาย

Capture

อย่างเช่นชายที่คิดค้นตุ๊กตาตัวนี้เราไม่ได้บอกว่าคนที่คิดตุ๊กตาพูดได้นั้นดูน่าขนลุกวะ แต่เราชื่นชม Thomas Edison ในนามของผู้คิดค้นหลอดไฟ (ซึ่งเป็นคนเดียวกับคนคิดตุ๊กตาน่าขนลุกที่พูดได้นี่แหละ)

Capture

และถ้าดูทั่วไปจะพบว่าตัวจริงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือคนที่ล้มเหลวมากที่สุด เพราะเขาคือคนที่พยายามมากที่สุด

หรืออย่างนักประพันธ์เพลงคลาสสิคที่ดีที่สุด ทำไมบางคนจึงมีประวัติในสารานุกรมมากกว่าคนอื่น ทำไมบางคนถึงได้บันทึกเสียงมากกว่าคนอื่นๆ สิ่งที่ใช้พยากรณ์ได้ดีที่สุดคือจำนวนการประพันธ์ที่สร้างออกมา (เนื่องจากในสมัยก่อนการบันทึกเสียงมีราคาสูงมาก เพลงที่แต่งมาทั้งหมดอาจจะไม่ได้บันทึกเสียงมีเพียงเพลงดีไม่กี่เพลงเท่านั้นที่จะได้รับโอกาสนั้น)

ยิ่งสร้างผลงานออกมามากเท่าไหร่ผลงานที่ได้ก็จะหลากหลายมากขึ้น และเพิ่มโอกาสที่จะได้เจอกับบางอย่างที่เป็นตัวจริง

แม้แต่ 3 นักประพันธ์เพลงชื่อดังของโลกอย่าง Bach, Beethoven และMozart ล้วนสร้างผลงานเป็นพันๆชิ้น แต่ก็ได้ผลงานชิ้นเยี่ยมออกมาเพียงนิดหน่อย

Capture

ถึงตรงนี้บางคนอาจจะเถียงว่าแต่ก็มีบางคนที่ประสบความสำเร็จโดยไม่ได้สร้างงานมากมาย Grant บอกว่าเขาก็ไม่รู้เหมือนกัน เพียงแต่พวกเราส่วนใหญ่แล้วถ้าต้องการจะเป็นตัวจริงการสร้างไอเดียจำนวนเยอะๆเป็นเรื่องสำคัญ

ตอนที่ตั้งชื่อบริษัท Warby Parker พวกเขาต้องการชื่อที่เป็นปรัชญา ไม่ซ้ำกับคนอื่น และไม่มีภาพแง่ลบ พวกเขาลองคิดชื่อมากกว่า 2000 ชื่อก่อนจะมาใช้ Warby และ Parker มารวมกัน (ชื่อ Warby และ Parker เป็นชื่อตัวละครในหนังสือของ Jack Kerouac ซึ่งเป็นนักเขียนอินดี้หน่อยๆและหนังสือออกแนวดาร์กๆ)

ซึ่งสิ่งที่เราเห็นจากตัวจริงเหล่านี้คือ เขาไม่ต่างจากพวกเราเลยคือเขายังมีความกลัวและกังวลสงสัย พวกเขาผัดวันประกันพรุ่ง พวกเรามีไอเดียแย่ๆ

หลังจากที่เห็นเรื่องราวเหล่านี้ Grant บอกว่าอย่าทำผิดพลาดอย่าที่เขาทำ อย่าเพิ่งเขี่ยพวกเขาไปไกลตัว และอย่าดูถูกตัวเอง
เรารู้ว่าการเริ่มให้เร็วแต่จบให้ช้าช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์
เราสามารถกระตุ้นตัวเองด้วยการเคลือบแคลงในไอเดียของตัวเองและโอบรับความกลัวและความผิดพลาดเพื่อได้ลองทำ
และเราต้องการไอเดียแย่ๆจำนวนมากเพื่อจะได้สร้างไอเดียดีๆซักอัน

การเป็นตัวจริงไม่ได้เป็นเรื่องง่าย แต่มันเป็นทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยโลกรอบตัวเราให้ดีขึ้น

ขอบคุณ…

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s