ผ่านมาหลายปีนับตั้งแต่สิ่งที่เรียกว่า power bank เข้ามามีบทบาทในชีวิตเรา
แต่จนถึงวันนี้เราก็ยังเจอกับโฆษณา power bank ที่มีความจุมหาศาลในราคาถูกมาก ๆ

ในรูปเขียนมา 1ล้าน M ?? ส่วนใน description เขียนมา 25,000 mAh ขนาดบางเฉียบ เล็กเท่าฝ่ามือ
หลายคนอาจจะรู้สึกว่ามันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วละ
แต่จะรู้ได้ไงว่าความจุที่ระบุไว้ข้าง power bank มันเชื่อถือได้แค่ไหน?
เรามาเริ่มกันที่หน่วยการจัดความจุก่อน
mAH หรือ มิลลิแอมป์อาวร์ คือหน่วยวัดความจุของแบตเตอรรี่ หน่วยของมันจริงๆ บอกถึงปริมาตรไฟฟ้าต่อชั่วโมง เทียบง่าย ๆ เหมือนเป็นปริมาณน้ำในถังแล้วกัน
ทีนี้สิ่งที่ต้องเข้าใจอันถัดมาคือประเภทของแบตเตอรรี่
แบตเตอรรี่ที่นิยมใช้กันก็มี ลิเที่ยมไอออน และ ลิเที่ยมโพลิเมอร์
ลิเที่ยมไอออนส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบถ่าน 18650
ฉะนั้นพอมันมาอยู่ใน power bank ก็จะเป็น power bank ที่หนา ๆ หน่อย หน้าตาประมาณนี้
คิดง่าย ๆ ว่า 1 ก้อนประมาณ 1000 -1500 mAH คูณกันไป เช่นถ้าใส่ได้ประมาณ 4 ก้อน ก็ราว ๆ 6000 mAH
ถ้าเคลมไว้ความจุเกินกว่านี้แล้วราคาต่ำพันนี่โกหกแน่นอน
อีกประเภทคือ power bank ที่ใช้แบต ลิเที่ยมโพลิเมอร์ ส่วนใหญ่จะทำมาทรงแบน ๆ หน้าตาประมาณนี้
ขนาดประมาณ 10 – 12 เซ็นติเมตรก็จะได้ความจะราว 10000 mAH (ประมาณยาวกว่านาวบัตรนิดหน่อย)
จะใช้กี่อันก็เอามาต่ออนุกรมกัน ก็มักจะได้มาทรงแบน ๆ แบบนี้
ฉะนั้นจากขนาด เราก็จะกะ ๆ ปริมาณได้โดยธรรมขาติของมัน เพราะเทคโนโลยีแบตเตอรรี่ยังคงก้าวหน้าไปไม่ได้มากไปกว่านี้มากนัก ไม่งั้นก็จะแพงก้าวกระโดดไปเลย
ทำไมให้กะจากขนาดแทนที่จะวัดปริมาณการปล่อยไฟฟ้า?
- การวัดทำได้แต่เครื่องมือที่แม่นยำมีราคาแพงจนไม่คุ้มกับการใช้ในบ้าน
- การปล่อยพลังงานมีค่าความสูญเสีย (loss) มากมายหลายต่อ โดยเฉพาะการวัดประเภทที่ต่อเข้า load ต่าง ๆ ทำให้การวัดให้แม่นยำ หรือแม้กระทั่งใกล้เคียงทำได้ยาก
- ถ้าเราวัดได้ แปลว่าเราต้องซื้อมาแล้ว ต่อให้สามารถวัดได้จริง ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีใครรับผิดชอบเราหรือเปล่า
ง่ายที่สุดคือรับผิดชอบตัวเอง รู้ให้ทัน เข้าใจพื้นฐานของมัน เท่านี้เราก็จะไม่เป็นเหยื่อแล้ว