การอวด (ส่วนที่หนึ่ง : คำถามเกี่ยวกับการอวด)

Posted by

when-youre-good-at-something-youll-tell-everyone-walter-payton

ในเรื่องนี้เราจะแบ่งเนื้อหาเป็นสามส่วนใหญ่ๆ

โดยเริ่มต้นเราจะไปตั้งคำถามเกี่ยวกับการอวดก่อน ตั้งคำถามเกี่ยวกับการอวด

ในส่วนที่สองเราจะพยายามหาคำตอบให้กับคำถามในส่วนแรก วิเคราะห์การอวด อวดการวิเคราะห์

และในส่วนสุดท้ายเราจะมาลองสรุปกัน สรุป


 

คงเคยมีใครบางคนที่เราหมั่นไส้เค้าเพราะ “การอวด”
แต่เอาจริงๆแล้ว ถ้าลองพิจารณาดีๆ อาจจะพบว่าจริงๆมีบางครั้งที่เราก็สำแดง “การอวด” ออกไปบ้างเหมือนกัน
แล้วมีคนอื่นเคยหมั่นไส้เราเพราะ “การอวด” ไหม?

ถ่ายรูปอาหารที่น่ากินลง Instagram คือการอวดไหม ?
ออกไปท่องเที่ยวโพสลง Pantip คือการอวดหรือเปล่า?
ซื้อกระเป๋าใบใหม่ถ่ายรูปลง Facebook นั่นเรียกการอวดได้ไหม?
ออกไปทำบุญถ่ายรูปตอนทำบุญ บอกว่าเอาบุญมาฝากเพื่อนๆ ใช่อวดหรือเปล่า?
อะไรที่เรานิยามว่านั่นคือการอวด อะไรที่ไม่ใช่?

เหตุการณ์เดียวกันที่คนหนึ่งทำอาจจะกลายเป็นการอวด ในขณะที่อีกคนทำกลับไม่ใช่ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ในบทความนี้เราจะพยายามลงไปทำความเข้าใจกับ “การอวด” และปฏิกริยาที่ผู้คนมีต่อมัน

อวด ก. สำแดงให้รู้เห็น, นำออกให้ชม, ยกย่องต่อหน้าคน.

อ่านความหมายข้างบนจากราชบัณฑิตแล้วรู้สึกว่าความหมายเป็นอย่างไรบ้าง ?

ไอ้ขี้อวด, เพื่อนเราคนนี้เป็นคนชอบอวดรวย, อวดเก่ง

เทียบกับคำข้างบนละ? ความรู้สึกมันแตกต่างกันใช่ไหม?
อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เรามองว่าการอวดเป็นสิ่งที่ไม่ดี? 

ก่อนอื่นเราต้องยอมรับให้ได้ก่อนว่าทุกคนล้วนมีความอยากอวดอยู่กับตัว !!
นั่นสิ ทำไมเราต้องอยากอวดด้วยละ?

ไม่เคยมีใครสอนให้เราอวด ทั้งพ่อแม่ สังคม เพื่อนๆ ล้วนต่างนินทาคนขี้อวด เหมือนกับว่าทุกคนในสังคมพร้อมใจบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “การอวดนั้นไม่ดี”
แต่ทำไมเรายังอยากอวดอยู่? ทำไมเรายังเห็นคนอวดอยู่?

เราอาจจะพอพูดได้ว่าการอวดนั้นเหมือนการมีเซ็กส์คือไม่ต้องสอนกันโต้งๆแต่ทุกคนรู้และทำเป็น และแน่นอนมันมี ศาสตร์และศิลป์ของมันที่ทำให้คนบางคนสามารถทำได้ดีกว่าคนอื่นๆ …

แสดงว่า “การอวด” นั้นมี function ในตัวมันเอง !! มันน่าจะมีประโยชน์อะไรซักอย่าง
อะไรละคือประโยชน์ของการอวด?

แล้วถ้ามันมีประโยชน์จริงทำไมเราจึงทำราวกับว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ดี?
ทำไมเราจึงรังเกียจการอวด?

แล้วการอวดเป็นเรื่องธรรมชาติหรือเปล่า? ในสัตว์มีการอวดไหม?
รวมถึงอะไรที่ทำให้การอวดแต่ละครั้งในแต่ละบริบทแตกต่างกัน ?

เหล่านี้คือคำถามที่จะนำเราไปสู่ความเข้าใจกับการอวดและ วัฒนธรรมการอวด
เพราะความเข้าใจเป็นเครื่องมีชิ้นเดียวที่ทำให้เราสามารถอยู่กับมัน…. “การอวด” สิ่งที่เรารังเกียจ
ได้อย่างไม่กระอักกระอ่วนนัก

ps. 52.5 Hz น่าจะ publish ทุกวันอังคารหลังจากนี้ ติดตามได้ทาง
FB : http://www.facebook.com/52.5Hz | suksit.me/

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s