เมื่อการมีเงินคือ สิทธิในการอยู่ในประเทศนี้ เราจะตั้งคำถามอย่างไรดี?

Posted by

“เงิน” คือสิทธิการเป็นมนุษย์ในประเทศนี้

ถ้าคุณไม่มีเงิน….
เมื่อเจ็บป่วยคุณถูกกระทำเยี่ยงไม่ใช่คน ไม่เชื่อเหรอ ลองไปดูการต่อแถวของลุงๆป้าๆ ตอนตี 4 ในโรงพยาบาลรัฐสิ พวกเขาต้องเผาเวลาทั้งวันของตัวเองเพื่อได้รับสิทธิที่พวกเขาพึงได้ แถมพยาบาล “บางคน” ก็ทำอย่างกับเขาไม่ใช่ “ลูกค้า” แต่เป็นคนป่วยบ้านนอกที่น่ารำคาญ

ถ้าคุณไม่มีเงิน….
คุณมีโอกาสเพียง 0.02% ที่จะได้เข้ามหาวิทยาลัยรัฐชั้นนำ แถมที่เข้าไปมีจำนวนมากที่ไม่สามารถสร้าง คอนเนคชั่นกับชนชั้นนำที่เข้าไปเรียนที่เดียวกันได้ เพราะไลฟ์สไตล์แตกต่างกัน ทำให้สุดท้ายก็ยกระดับชนชั้นของตัวเองขึ้นมาได้ไม่มาก และพร้อมจะล่มสลายไปได้ทุกเมื่อถ้าเกิดความผิดพลาดในชีวิตขึ้น

ถ้าคุณไม่มีเงิน….
กฏหมายจะบังคับใช้กับคุณอย่างเคร่งครัดรัดกุมและรวดเร็ว ในขณะที่ถ้าคุณมีเงินราวกับว่ากระบวนการทางกฏหมายต้องใช้เวลายาวนานครึ่งชีวิต มันจึงจะออกฤิทธิเดชได้ หลายๆครั้งก็เลือนหายไปตามกาลเวลาเสียด้วย และถ้าคุณมีเงินมากพอ บางครั้งกฏหมายอาจจะออกแบบมาเพื่อพวกคุณเสียด้วยซ้ำ !

ถ้าคุณไม่มีเงิน….
คุณไม่มีสิทธมีบ้านที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ใกล้แหล่งงาน ไม่ขาดแคลนน้ำหรือไฟฟ้า ถ้าคุณซื้อบ้านบ้านราคา 2 – 3 ล้านในกรุงเทพฯ คุณจะต้องซื้อรถเป็นภาระแถม และต้องใช้เวลาบนถนนราวๆ 2 ชั่วโมงต่อวันเพื่อเข้ามาทำงานในเมือง คุณไม่มีสิทธเรียกร้องรถสาธารณะที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และตรงต่อเวลาได้ เพราะคุณไม่มีเงินพอ

ถ้าคุณไม่มีเงิน….
ลองคิดต่อแล้วกัน ผมเชื่อว่าเราคงคิดต่อด้วยประโยคแบบนี้ได้อีกเป็นร้อย ๆ เรื่องรอบๆตัวเรา คิดได้ทุกวัน แล้วก็จะมีคนมาบอกคุณว่า

“คิดไปก็แก้ไขอะไรไม่ได้ มันเป็นของมันแบบนี้”

ลงเอยด้วยการที่ทุกคนจึงต้องก้มหน้าก้มตาหาเงิน
เพราะเรารู้ว่าอภิสิทธิทั้งหลายนั้นมาพร้อมเงิน
เราจึงทำทุกอย่างให้ได้มันมา

กักตุนหน้ากากอนามัยขายในราคา 10 เท่า 20 เท่า
ใช้เส้นสายแอบเข้าถึงข้อมูลที่ควรเป็นความลับ เพื่อให้ตัวเองได้เปรียบ
รับเงินสินบน แลกกับการใช้อำนาจเอื้อประโยชน์

ทั้งหมดเพราะเรายอมรับว่า
“เงินคือสิทธิของการเป็นมนุษย์”
ไม่ใช่แค่ความได้เปรียบในการใช้ชีวิต แต่มันกลายเป็นสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป เป็นศักดิ์ศรีความเป็นคน

คำถามคือ?
เราต้องยอมรับต่อข้อเท็จจริงนี้ไหม?
ถ้าไม่ยอมรับ เราควรต้องทำอย่างไร?

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s