มันกลับมาอีกแล้วพร้อมๆกับกระแสรักษ์โลก มันคือถุงพลาสติกแบบรักษ์โลก ซึ่ง OK วันนี้เราจะมาคุยเรื่องนี้กัน
ถุงพลาสติกรักษ์โลกอาจจะไม่มีจริงเลยก็ได้ ลองมาถกเถียงกันดู
กลุ่มพลาสติกรักษ์โลกมี 2 กลุ่มชัดๆดังนี้คือ
เราพยายามทำให้มันง่ายที่สุดโดยแบ่งด้วยคำศัพท์สองคำคือ Degradable กับ Compostable
ถ้าเอารากศัพท์เลยก็ยิ่งชัดเจน Degrade คือทำให้เกรดมันลดลง able คือ สามารถ แปลว่ามันสามารถทำให้คุณภาพมันลดลงขนาดมันลดลงแต่ไม่ได้ย่อยสลายหายไปโดยสิ้นเชิงนะ ส่วนการทำให้มัน degrade หรือแตกตัวไปเนี้ยะก็ใช้วิธีการแตกต่างกันมีตั้งแต่ใช้ แสง ออกซิเจน น้ำ
ส่วนพวกที่เป็น Compostable คำว่า compost คือการหมักเหมือนหมักปุ๋ยอะไรแบบนั้นอะ ดังนั้นพวกนี้คือสามารถเอาไปหมักได้นะแล้วมันจะกลายเป็นปุ๋ย
มาดูรูปแบบแรกกันที่เป็นพวก Environmentally Degradable Plastic หรือบางที่เค้าเรียกว่า oxo-biodegradable เอาเข้าจริงมันคือพลาสติกทั่วไปนี่แหละที่ถูกเติมสารเคมีเร่งให้เกิดการแตกสลายเร็วขึ้น แต่เนื่องจากมันเป็นพลาสติกการสลายตัวนี้ จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ไมโครพลาสติก ปนเปื้อนไปกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นบนดินหรือในน้ำ มียันไปถึงหิมาลัยเลยทีเดียว แถมบางครั้งสารที่เติมเข้าไปเพื่อนเร่งการสลายตัวยังเป็นตัว โลหะหนัก หรือ DDT อีกตะหาก ทำให้มีการปนเปื้อนของตัวสิ่งเหล่านี้เข้าไปเพิ่มอีกต่างหาก อีกอย่างพลาสติกประเภทนี้ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ซึ่งโดน EU แบนพลาสติกประเภทนี้ไปเป็นที่เรียบร้อยแต่ในบ้านเรายังขายกันโครมๆ ในกลุ่มคนรักษ์โลกอยู่ดี ราคาของถุงประเภทนี้จะแพงกว่าถุงทั่วไปอยู่ 2 – 5 เท่าเลยทีเดียว
แบบที่สองคือ compostable หรือ Bioplastic พลาสติกประเภทนี้สามารถย่อยสลายกลายเป็นชีวมวลได้จริง แต่ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมด้วย ซึงชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าต้องเอาไปหมักเท่านั้น ซึ่งในต่างประเทศมีโรงงานสำหรับการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพโดยเฉพาะ หรือเอาไปหมักทำปุ๋ยก็ยังได้ แต่การหมักนั้นจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าปกติทั่วไปมาก และไม่สามารถย่อยสลายได้ในสภาวะแวดล้อมทั่วไปคือถ้าเราเอาไปทิ้งถังขยะ เอาไปตากแดดตากลมหรือหย่อนมันลงไปในทะเลมันก็ไม่ได้สลายหายไปได้แบบเปลือกกล้วยอะไรแบบนั้น
ข้อดีของมันคือ มันใช้วัตถุดิบจากการเกษตรมาทำ ไม่ได้ใช้พวกผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมเลยทำให้กระบวนการสร้างสร้างก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า แต่เท่าที่อ่านมามันก็ลดลงได้แค่ ราวๆ 20% เท่านั้นเอง พวกนี้จะบอกได้ว่าตัวเองเป็น compostable plastic จริงจะต้องได้รับการรับรองจากมาตรฐานก่อนมีตั้งแต่ EN13432 ซึ่งเป็นมาตรฐานการย่อยสลาย หรือ ISO17088 หรือ มอก 17088-2555 แปลว่ามันยุ่งยากกว่ามาก ทำให้ราคาของมันแพงตามไปด้วยราคาของพวกนี้อาจจะแพงกว่าพลาสติกทั่วไป 10 – 50 เท่าเลยทีเดียว นั่นเป็นเหตุผลที่เราไม่ค่อยเจอประเภทที่สองเท่าไหร่นัก
ผมชวนคิดต่อว่าถึงแม้ว่าเราจะเลือกใช้พลาติกแบบ compostable แต่เอาแค่ในกรุงเทพ เรามีกระบวนการทำลายมันแบบถูกต้องแล้วเหรอ เราสามารถแยกถุงพลาสติกธรรมดา degradable และ compostable ได้แล้วเหรอ ฉะนั้นผลลัพธ์สุดท้ายพลาสติกทั้งหมดก็จะกลับไปกองรวมกันในภูเขาขยะอยู่ดี ที่แย่ไปกว่านั้นคือ พวก degradable plastic ไปรบกวนกระบวนการ recycle ทำให้การ recycle ทำได้ยากและมีปัญหาอีกต่างหาก กลายเป็นว่าระบบทั้งหมดรวนเพราะการรักษ์โลกไม่ถูกทางของเรานี่เอง
แล้วทำยังไงดี? ง่ายสุดซึ่งทุกคนก็กำลังทำอยู่ คือลดการใช้งานมันลง การนำถุงพลาสติกเก่ากลับมาใช้ซ้ำ จริงๆลองคิดเล่นๆว่าแทนที่จะทำให้ถุงบางลงเรื่อยๆ ย่อยง่ายลง ถ้าลองทำกลับด้านด้วยการทำให้ถุงมันหนาขึ้น ดูดีขึ้น ทนทานขึ้น ทำให้ถุงมีราคามากขึ้นจะทำให้เกิดการ reuse คือเอาถุงเก่ากลับมาใช้ซ้ำได้ซึ่งอาจจะดีกว่าการหารทางทำให้มันย่อยสลายได้ก็ได้นะ เหมือนที่ที่บ้านผมสมัยเด็กๆทำ เอาถุงพลาสติกมาล้างแล้วใช้ซ้ำ
ไม่ใช่แค่ความปารถนาดี แต่เราต้องมีความรู้ประกอบด้วยถึงจะรักษ์โลกได้ถูกทาง