ข้อดีที่คาดไม่ถึงของการสรรเสริญให้กับความผิดพลาด

Posted by

 

Astro Teller หัวหน้าทีม Google X ออกมาเล่าเรื่องความสำเร็จและความล้มเหลวที่อยู่เบื้องหลัง Google Projet ต่างๆ

เปิดฉากด้วยการเล่าเรื่อง JFK เล่าความฝันต่อสาธารณะเรื่องจะส่งคนไปถึงดวงจันทร์ ต่อมาเหตุการณ์นี้ถูกตั้งชื่อว่า moonshot speech

Teller บอกว่านี่คือฝันที่ยิ่งใหญ่และดี

ฝันที่ดีต้องไม่ใช่แค่ความฝันแต่ต้องประกอบไปด้วยกลยุทธ์และการทำให้มันเป็นจริง

หลังจากนั้นก็เล่าเรื่องของการทำงานที่ moonshot factory หรือที่เรียกว่า Google X [google X คือบริษัทย่อยของ google ที่ไปทำโปรเจคที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆที่แก้ปัญหาใหญ่ ]

ที่นี่เราจะได้พบกับวิศวกรอวกาศที่ทำงานร่วมกับ fashion designer หรืออดีตผู้บังคับบัญชาในกองทัพ brainstorm ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเลเซอร์

คนเหล่านี้พยายามฝันถึงเทคโนโลยีที่ทำให้โลกดีขึ้น พวกเขาใช้คำว่า Moonshots เพื่อเตือนให้ตัวเองรักษาวิสัยทัศน์ที่ส่งใหญ่เช่นนั้นไว้ และใช้คำว่า factory เพื่อเตือนให้นึกถึงแผนที่แข็งแรงเพื่อทำให้ฝันนั้นเป็นจริง

หลังจากนั้น ก็โชว์ moonshot blueprint โดยเป็น intersection ของ

  1. ปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่กระทบคนจำนวนมาก
  2. วิธีการแก้ปัญหาที่สุดโต่งที่ใช้แก้ปัญหานั้น
  3. ต้องมี technology ที่สุดยอดที่สร้างได้จริง
Capture
ตรงกลางคือ google X

หลังจากนี้ไปจะเป็นการเล่าในมุมมองของ Teller แล้ว

ผมจะเล่าความลับให้ฟัง moonshot factory เป็นที่ที่วุ่นวายมาก แต่แทนที่จะหลีกเลี่ยงความวุ่นวาย ทำเป็นว่ามันไม่มีอยู่ พวกเค้าทำให้สิ่งนั่นกลายเป็นจุดแข็งของพวกเขา
โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำลายสิ่งต่างๆ และพยายามพิสูจน์ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นผิด
นั่นคือความลับของพวกเรา!

คือการเลือกทำส่วนที่ยากที่สุดของปัญหาก่อน และพยายามหาทางทำลายโปรเจคของตัวเอง

พวกเราค้นพบสิ่งที่น่าสนใจของการพยายามสร้างความสมดุลระหว่าง
การมองโลกในแง่ดีแบบสุดขั้วเพื่อเติมพลังแห่งวิสัยทัศน์ให้
และการต้องถกเถียงและสงสัยอย่างรุนแรงเพื่อทำให้โปรเจคยังดำเนินต่อไปได้

ผมจะให้ดู project ที่เราต้องทิ้งมันไป และบางโปรเจคที่อย่างน้อยถึงตอนนี้ที่ไม่เพียงแค่รอดมาได้แต่เรายังทำให้มันพัฒนาไปได้ไกลด้วย

Capture
Automated vertical farming

ปีที่แล้วเราเพิ่งทำลายโปรเจค Automated Vertical Farming (ระบบปลูกผักแนวตั้งแบบอัตโนมัติ)
ในภาพเป็นผักกาดหอมบางส่วนที่เราปลูกขึ้นมา
ปัญหาคือ 1 ใน 9 ของคนบนโลกเป็นโรคขาดสารอาหาร การทำฟาร์มแนวตั้งใช้น้ำน้อยกว่าปกติ 10 เท่า และใช้พื้นที่น้อยกว่าการทำฟาร์มปกติ 100 เท่า และด้วยการที่เราสามารถปลูกพืชอยู่ใกล้กับตัวเรามากดังนั้นเราไม่ต้องเสียค่าขนส่งอีกต่างหาก
เรามีความคืบหน้าไปเยอะมากในหลายๆส่วนตั้งแต่การเก็บเกี่ยวอัตโนมัติ การควบคุมแสง แต่น่าเสียดาย เราไม่สามารถทำแบบนี้กับพืชหลักเช่น ข้าวหรือธัญพืชได้ เราเลยต้องทำลายมันทิ้งไป

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ เราใช้ทรัพยากรและสร้างความเสียหายไปเยอะมากกับการส่งสินค้าไปทั่วโลก หรือประเทศที่เป็น landlocked(ประเทศที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเลเลย) ก็สามารถพัฒนาเศรษกิจได้ยากเพราะข้อจำกัดของระบบขนส่งพื้นฐาน

แล้ววิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลเหรอ? เราอยากได้เรือขนส่งเดินอากาศที่เบากว่าอากาศไงละ

Capture

สิ่งนี้จะช่วยลดค่าขนส่ง ลดเวลาและ carbon footprint ซึ่งเราเริ่มต้นด้วยเทคโนโลยีที่ฉลาดสุดยอดที่ต้องทำให้ราคาถูกพอจะสร้างขึ้นมาได้ในจำนวนมากๆ แต่ปรากฏว่าราคาของการสร้างลำแรกอยู่ที่ 200 ล้าน usd ในการสร้างและออกแบบ

ซึ่ง 200 ล้านนั้นแพงเกินไปเพราะ โครงสร้างของ X นั้นเน้นไปที่การสร้างและทำลายอย่างรวดเร็ว คือเน้นไปสร้างความผิดพลาดและเรียนรู้จากมันแล้วออกแบบใหม่
ทำให้ไม่สามารถจ่าย 200 ล้านเพื่อให้ได้ลองสิ่งที่ยังไม่รู้ว่าจะไช้งานได้หรือเปล่าเลยลงเอยต้องทำลายโปรเจคนี้ไปด้วย

อีกอย่างที่เราค้นพบคือสิ่งผิดพลาดของโปรเจคไม่ได้หมายความว่าโปรเจคนั้นต้องจบ บางครั้งเราอาจจะได้พบกับทางที่ดีกว่าก็ได้

Capture
รถไร้คนขับผลงานของ Google X

นี่คือรูปรถขับเคลื่อนด้วยตัวเองรุ่นทดลอง โดยรุ่นนี้ไม่มีพวงมาลัยหรือเบรก ซึ่งเอาจริงๆนั่นก็ไม่ได้เป็นเป้าหมายที่คิดขึ้นมาในตอนแรกเลย

ด้วยเหตุที่มี่คนตาย 1.2 ล้านคนบนถนนทุกปี การสร้างรถไร้คนขับก็เป็นสิ่งที่ moonshot เล็งไว้เหมือนกัน, เมื่อ 3 ปีครึ่งที่แล้วเมื่อเราดัดแปลงรถ Lexus ให้กลายเป็นรถไร้คนขับเพื่อการทดสอบ ซึ่งมันดีมาก เราให้คนของ google เอาไปทดลองใช้แล้วถามถึงประสบการณ์ดู
และสิ่งที่เราพบคือการให้รถขับเองอัตโนมัติแล้วเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหวังพึ่งให้คนขับควบคุมเองเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินนั้น เป็นแนวคิดที่แย่มาก ไม่ใช่เพราะระบบไม่ทำงานนะ แต่เป็นเพราะคนขับไม่สนใจเลยต่างหาก(เพราะมันอัตโนมัติแล้วนี่จะไปสนใจทำไม) ทำให้เมื่อเกิดเหตุต้องควบคุมเลยไม่มีสติพอจะควบคุมได้

(รถขับอัตโนมัติรุ่นแรกยังมีเบรกและพวงมาลัยให้คนขับควบคุมกรณีฉุกเฉินได้)

นี่เป็นวิกฤติที่ใหญ่มากของทีมงาน และต้องกลับไปออกแบบใหม่หมด และกลับมาพร้อมกับระบบใหม่ที่ให้คนขับเป็นผู้โดยสารไปเลย แค่บอกรถว่าจะไปไหน กดปุ่มแล้วรอให้มันไปส่งเองเลย ไม่ต้องมีเบรกแล้ว

ซึ่งเป็นแนวคิดที่เราภูมิใจมาก แล้วแนวคิดนี้ก็เปลี่ยนทุกอย่างไปเลย และตอนนี้ self-driving car ของ google วิ่งด้วยตัวเองไปแล้ว 1.4ล้านไมล์ และออกไปทุกวันบนถนนใน Mountain view California และใน Austin Taxus

ทีมที่ออกแบบรถเปลี่ยนแนวคิดไปจากตอนแรก ซึ่งนี่คือความมหัศจรรย์ของ X ที่บางครั้งการเปลี่ยนมุมมองนั้นทรงพลังยิ่งกว่าการทำตัวฉลาดๆ

Capture
Take wind Energy turbine เครื่องปั่นไฟพลังงานลมที่มีไอเดียจากว่าว

Take wind energy เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการเปลี่ยนมุมมอง
เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่ดีกว่าผู้เชียวชาญในอุตสาหกรรมที่ทำอยู่ตอนนี้
แต่เราพบวิธีจะนำมันขึ้นไปบนฟ้าทำให้สามารถรับลมด้านบนที่เร็วขึ้นและสเถียรขึ้น และได้พลังงานมากกว่าโดยไม่ต้องใช้เหล็กเป็นร้อยๆตัน

ว่าว Makani energy นั้นสามารถขึ้นไปข้างบนได้โดยมีใบพัดที่ติดอยู่กับปีกและลากเชือกเพื่อให้มันลอยขึ้นเมื่อมันติดลมบนจะกลายเป็นเครื่องปั่นไฟที่ลอยได้และนำไฟส่งกลับมาผ่านสายจูง

เรายังหาวิธีทำลายโปรเจคนี้ไม่ได้และยิ่งมันอยู่นานเท่าไหร่มันยิ่งทำให้เราตื่นเต้นที่มันอาจจะกลายเป็นรูปแบบการผลิตพลังงานลมที่ราคาถูกให้กับโลก

Capture
บอลลูน Internet จาก โปรเจค Loon

และโปรเจคที่ดูจะบ้าที่สุดของเราคือ Project Loon. โดยเราพยายามสร้างบอลลูนที่ให้บริการ internet โดยสร้างเครือข่ายของบอลลูนในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียโดยส่ง internet ลงมาในพื้นที่ห่างไกลในโลก ซึ่งนั่นสามารถทำให้คนอีก 4 พันล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึง internet ให้สามารถใช้งาน internet ได้

แต่เราไม่สามารถเอาเสาส่งสัญญาณติดกับบอลลูนแล้วส่งขึ้นไปได้ ลมที่แรงเกินไปจะเป่าจนมันปลิวหายลอยห่างพื้นไปเรื่อยๆจนติดต่อกันไม่ได้

นี่คือจังหวะที่บ้ามาก คือแล้วถ้าเราปล่อยให้มันลอยไปเลยละให้มันไปตามทิศทางที่มันอยากได้เลย ทำให้เราไปค้นพบว่าในชั้น สตราโทสเฟียมีลมที่เคลื่อนที่ในความเร็วที่แตกต่างกัน และทิศทางที่ต่างกันเป็นชั้นบางๆ ดังนั้นเราจึงหวังจะใช้ algorithm มาคำนวณการไหลของลมทั้งโลก โดยควบคุมมบอลลูนนิดหน่อยให้มันขึ้นและลงนิดเดียวในชั้สตราโทสเฟียเพื่อให้มันรับเอาลมที่ว่ามานี้เพื่อเปลี่ยนทิศทางและความเร็ว โดยเมื่อบอลลูนอันนึงลอยออกจากพื้นที่ไป บอลลูนอีกลูกก็จะลอยเข้ามาแทนที่พอดีแล้วทำหน้าที่ให้บริการ internet ต่อไปเหมือนตอนเราเคลื่อนที่โทรศัพท์ข้ามเสาสัญญาณตอนเราขับรถ

Capture1

เรารู้ว่ามันฟังดูบ้าแค่ไหน เหมือนกับชื่อของโครงการของเรา
ดังนั้นตั้งแต่ปี 2012 ทีม loon เริ่มให้ความสำคัญกับส่วนที่ยากที่สุดก่อนที่อาจจะทำให้โปรเจคนี้ล้มเหลวได้

สิ่งแรกที่ทำคือการเอา Wi-Fi connection จากบอลลูนในชั้นสตราโทสเฟียลงมายังเสาอากาศที่พื้น และมันสำเร็จ

ดังนั้นเราจึงไปทำสิ่งที่ยากขึ้นไปอีกที่คุณอาจจะคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้

เราจะเอา internet จากบอลลูนตรงลงมายังมือถือเลยโดยไม่ต้องมีเสากั้นแล้ว ซึ่งเราก็ทำได้

เราสามารถทำให้ internet ที่จ่ายจากบอลลูนเร็วพอที่จะใช้ internet จริงๆไหม ที่จะใช้ internet ได้จริงๆไม่ใช่แค่ SMS ในช่วงแรกๆความเร็วก็ใช้ได้ไม่ถึง Mbps ด้วยซ้ำ แต่ตอนนี้เราสามารถทำได้ถึง 15 Mbps ซึ่งเร็วพอจะดู TED Talk ได้

ปัญหาต่อมาเราจะทำให้บอลลูนสามารถคุยกันเองบนฟ้าได้ไหม เพื่อให้เราสามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้นในพื้นที่ที่ห่างไกลมากๆ แน่นอนว่าในที่สุดเราทำได้

ปัญหาต่อมาเราจะทำให้บอลลูนขนาดใหญ้เท่าบ้านลอยอยู่บนฟ้าได้นานกว่า 100 วัน ในขณะที่ต้องมีราคาถูกกว่า 5% ของบอลลูนที่อยู่นานๆที่เรามีอยู่ในขณะนี้ได้ไหม? แน่นอนว่าในที่สุดก็ได้ แต่กว่าจะทำได้ก็ต้องพยายามอย่างมาก

เราสร้างบอลลูนทรงกลมสีเงิน สร้างทรงหมอนขนาดยักษ์ เราสร้างบอลลูนขนาดเท่าวาฬสีน้ำเงิน แน่นอนว่าเราพังบอลลูนไปมากมาย

หนึ่งในสิ่งที่จะทำลาย Loon Project คือการควบคุมบอลลูนบนท้องฟ้า หนึ่งในการทดลองที่สำคัญคือการเอาบอลลูนใส่เข้าไปในบอลลูนอีกอัน โดยอันนึงใส่อากาศเข้าไปอีกอันใส่ฮีเลี่ยม บอลลูนจะปั้มอากาศเข้าไปในบอลลูนเพื่อให้มันหนักขึ้นและปล่อยอากาศออกเพื่อให้มันเบาลงเพื่อควบคุมให้มันขึ้นและลง ด้วยการเคลื่อนที่ง่ายๆแค่นี้จะเป็นกลไกที่ใช้ควบคุมเพื่อให้มันจับเอาลมที่มีความเร็วและทิศทางที่ต้องการ

Capture1

แล้วมันดีพอที่จะใช้ควบคุมให้เคลื่อนที่ไปทั่วโลกเหรอ? ช่วงแรกๆก็ไม่ค่อยได้หรอก แต่มันก็ดีขึ้นมาเรื่อยๆ

โดยเฉพาะบอลลูนตัวล่าสุดของเราสามารถเคลื่อนที่สูงขึ้นไป 2 ไมล์บนท้องฟ้าและคุมตัวเองให้ไปยังที่ที่ต้องการในระยะ 500 เมตรโดยควบคุมห่างออกไป 20000 กิโลเมตร

เรายังมีอะไรต้องทำอีกมากในส่วนของการปรับจูนระบบละลดค่าใช้จ่าย แต่ในปีที่แล้วบอลลูนถูกๆเหล่านี้เคลื่อนที่ไปรอบโลก 19 รอบใน 187 วันและเราจะทำต่อไป

บอลลูนของเราตอนนี้ทำได้เกือบทุกอย่างที่เราต้องการแล้ว และอยู่ในช่วงของการทำข้อตกลงกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ทั่วโลก และเรากำลังจะเอามันขึ้นบินให้บริการใน อินโดนีเซียเพื่อทดสอบจริงในปีนี้ (2016)

สิ่งเหล่านี้ฟังดูเหนือความเป็นจริง และใช่แล้ว! ความบ้าบิ่นและทำงานที่เสี่ยงเป็นอย่างมากทำให้ผู้คนรู้สึกไม่สบายใจโดยธรรมชาติ

เราไม่สามารถตะคอกผู้คนแล้วบังคับพวกเขาว่า “จงล้มอย่างรวดเร็ว” เพราะผู้คนจะปฏิเสธ
เพราะพวกเขากังวลว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเขาถ้าเขาล้มเหลวละ?
ผู้คนจะหัวเราะเยาะเราไหม? หรือเราจะถูกไล่ออกหรือเปล่า?

ผมจะเล่าความลับให้ฟัง ว่าทำไมเราจึงทำแบบนี้ได้ หนทางเดียวที่จะทำให้ผู้คนทำงานที่ใหญ่และเสี่ยงมากๆ หรือไอเดียที่บ้าบิ่น และให้พวกเขาทำเรื่องที่ยากที่สุดก่อน คือต้องสร้างเส้นทางที่จะถูกต่อต้านน้อยที่สุดก่อน

ที่ X ความล้มเหลวนั้นปลอดภัย, ทีมต่างๆต้องฆ่าแนวคิดของตัวเองให้เร็วถ้ามีหลักฐานว่ามันล้มเหลวได้ เพราะอะไร? เพราะพวกเขาจะได้รางวัลในการฆ่าโปรเจคของตัวเองได้ ได้รับคำชื่นชมจากเพื่อนๆ ได้กอดและแปะมือทักทายจากผู้บริหาร เช่นผมเป็นต้น
ได้รับการโปรโมท นอกจากนี้เรายังมีโบนัสสำหรับทุกคนในทีมที่ล้มโปรเจคได้

เราเชื่อมันในความฝันที่ Moonshot Factory และการโต้แย้งวิพากษ์ไม่ได้เป็นศัตรูของการมองโลกในแง่ดี แต่มันเป็นพาร์เนอร์ที่ดีซึ่งกันและกัน มันทำให้ทุกแนวคิดเป็นไปได้

ทำให้เราสร้างอนาคตในความฝันของเราได้

ขอบคุณ….


ชอบ : Astro Teller พูดด้วยสีหน้ายิ้มแย้มสนุกสนานตลอดเวลาจนรู้สึกได้เลยว่าเขาสนุกกับมันจริงๆ และหลงไหลในมันจริงๆ, ลีลาการเล่าสมเป็นระดับผู้บริหารขั้นสูงและมีความรู้ด้านเทคนิคอลเป็นอย่างดี

ไม่ชอบ : ช่างเถอะ ฟังสนุกดีหนะ!

 

 

 

 

 

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s