หลายคนแผดเผาใจตัวเองด้วยความอิจฉา ริษยา
จนดูเหมือนว่าความอิจฉาเป็นสิ่งเลวร้าย เลวร้ายเกินกว่าที่เราจะรับได้….
ในอีกมุมหนึ่งถ้า “ความอิจฉา” ไม่มีประโยชน์
ทำไมมันจึงถูกคัดเลือกให้อยู่กับสายพันธุ์ของมนุษย์มาอย่างยาวนาน
หรือว่าแท้จริงแล้วปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ “ความอิจฉา”
แต่ปัญหามันอยู่ที่การตอบสนองต่อความอิจฉาต่างหาก
ความอิจฉาสามารถเป็นได้ทั้งกรดที่กัดกินพลังงานของเราให้หมดไปกับความสิ้นหวัง
…หรืออาจจะเป็นเชื้อเพลิงให้เราทะยานไปยังเป้าหมายที่ต้องการก็ได้
แล้วเราจะทำยังไงถึงจะเอามันมาใช้ประโยชน์ได้ละ
เริ่มต้นที่….การยอมรับ
คือยอมรับถึงการมีอยู่ของมันก่อน
แต่ส่วนใหญ่ปัญหากลับกลายเป็นว่า ในสังคมอุดมศีลธรรมของเรา
มักไม่ยอมรับว่าเรามีความอิจฉา
เพราะเรามองว่าความอิจฉาเป็นเรื่องเลวร้าย เป็นบาป !
เอาละ…เมื่อเรายอมรับได้ว่ามันมีอยู่จริง เราก็สามารถเอามันมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว
ลองมองสถานการณ์ที่ทำให้เราเกิดความอิจฉาด้วยสายตาคนนอก
หรือาจจะลองสมมติเหตุการณ์ขึ้นมาก็ได้ เหตุการณ์ที่ไม่มีเราอยู่
แล้วดูว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรเป็นสิ่งที่เขาได้เปรียบเรา
อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เราอิจฉา
หลังจากนั้นลองพิจารณาถึงข้อดีข้อเสีย ของการได้มาซึ่งสิ่งที่เราอยากได้ อยากเป็นดู
มันอาจจะยากในตอนแรกๆ ลองเขียนมันลงบนกระดาษเลยก็ได้
ให้มันเห็นชัดๆ เอากระดาษแผ่นใหญ่ๆเลยยิ่งดี นึกอะไรได้ก็เขียนลงไป ไม่ต้องเป็นขั้นตอนสวยงาม
ถึงตอนนี้เราน่าจะได้ความคิดหลัก (main idea) ของสิ่งที่ว่าแล้ว
วางแผนเลยว่าควรมีขั้นตอนอะไรบ้างที่เราสามารถทำให้เราไปถึงจุดหมายที่เราวาดหวังไว้
ลิสมาเป็นข้อๆ
ขยำกระดาษนั้นทิ้งไปซะ
เก็บไว้แค่ขั้นตอนแล้วลองดูซิว่ามีอะไรที่เราเติมความสนุกลงไปในขั้นตอนนั้นได้บาง
แล้วเริ่มทำมัน !
เราอาจจะไปไม่ถึงเป้าหมายนั้นๆ เราอาจล้มเลิกกลางทาง
แต่ทุกการเคลื่อนที่นั้นย่อมดีกว่าการหยุดนิ่ง หรืออย่างน้อยบางครั้งตอนที่เราหมกมุ่นอยู่กับแผนการที่เราจะเดินทางไปนั้น เราก็ลืมไปแล้วว่าเราอิจฉาใคร อิจฉาไปทำไม พอรู้ตัวอีกทีเราก็ออกเดินทางไปไกลแล้ว …..
ขอให้สนุกกับการเดินทาง